Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9514
Title: การพัฒนาโมเดลความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตการศึกษา 6 : การวิเคราะห์ล็อกลิเนียร์มาตรอันดับ
Other Titles: A development of the model of expectation to further study of the mathayom suksa three students in the schools under the expansion of basic education opportunity project in education region six : an ordinal log-linear analysis
Authors: เบ็ญจมาศ แสงอนุเคราะห์
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
การศึกษาต่อเนื่อง
แบบจำลองล็อกเชิงเส้น
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อพัฒนาโมเดลล็อกลิเนียร์สำหรับตัวแปรมาตรอันดับของความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 500 คน สุ่มเลือกมาจากประชากรในเขตการศึกษา 6 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครอง และการศึกษาของผู้ปกครอง ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเฉพาะอิทธิพลหลักเท่านั้น ซึ่งได้แก่ อิทธิพลหลักของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การศึกษาของผู้ปกครอง และอาชีพของผู้ปกครอง ตามลำดับ จากการพัฒนาโมเดลล็อกลิเนียร์สำหรับตัวแปรมาตรอันดับ จะได้โมเดลโลจิทดังนี้ L1(ikl) = 1.206 + .748(ui - u) + .575(wk - w) + 1.686(yl - y) และ L2(ikl) = -0.533 + .022(ui - u) - .120(wk - w) + .037(yl - Y)
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationship, to study the main effect and interaction effect of factors affecting expectation to further study, and develop the ordinal log-linear model for the expectation to further study of the mathayom suksa 3 students in the schools under the expansion of basic education opportunity project in education. The research sample consisted of 500 students randomly selected from mathayom suksa 3 students in the academic year 2541 from educational region six. Data were collected by means of questionnaires and analyzed by SPSS program. The research results indicated that student achievement, parental occupation, parental income, and parental education had significant relationship on students continuing education expectation. The predictors ranked in the consecutive order of significant main effect were student achievement, parental education and occupation. The first-order interaction effects were not significant and the ordinal log-linear model equation was L1(ikl) = 1.206 + .748(ui - u) + .575(wk - w) + 1.686(yl - y) and L2(ikl) = -0.533 + .022(ui - u) - .120(wk - w) + .037(yl - Y)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9514
ISBN: 9743321071
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjamart_Sa_front.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Benjamart_Sa_ch1.pdf769.11 kBAdobe PDFView/Open
Benjamart_Sa_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Benjamart_Sa_ch3.pdf771.25 kBAdobe PDFView/Open
Benjamart_Sa_ch4.pdf922.9 kBAdobe PDFView/Open
Benjamart_Sa_ch5.pdf917.28 kBAdobe PDFView/Open
Benjamart_Sa_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.