Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/987
Title: วาทกรรมวิเคราะห์รายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน และ รายการชวนออนไลน์
Other Titles: Discourse analysis of "Premier Thaksin talks with the people" and Chuan online" programs
Authors: รัตนาวดี สำราญสุข, 2523-
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Orawan.P@chula.ac.th
Subjects: วจนะวิเคราะห์
การสื่อสารทางการเมือง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องวาทกรรมวิเคราะห์รายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนและรายการชวนออนไลน์นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาปฏิบัติการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมของวาทะของทั้งสอง ผู้นำรูปแบบและความหมายที่ปรากฏในรายการ การพิสูจน์ แสดงหลักฐาน วิธีการศึกษาได้ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative research) แบบสหวิธีการ (multiple methodology) ประกอบด้วย การวิเคราะห์ เนื้อหา (content analysis) การศึกษาวาทกรรม (discourse analysis) การวิจัยเอกสาร (documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (in-depth interview) ผลการศึกษาพบว่าวาทกรรมที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์รายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนและรายการชวนออนไลน์ทั้งรูปแบบและเนื้อหา มีเรื่องของสถานภาพ บทบาท สิทธิอำนาจ อุดมการณ์ การครองความเป็นใหญ่ และการแย่งชิงพื้นที่ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง รูปแบบวาทะที่ปรากฎในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนส่วนใหญ่เป็นวาทะที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย (argument from policy) และวาทะที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม (argument from value) ในขณะที่รายการชวนออนไลน์มีรูปแบบวาทะที่เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง (argument from fact) มากที่สุด และประเด็นที่พบในรายการซึ่งการโต้แย้งแสดงเหตุผลกัน (argument) มี ทั้งสิ้น 5 ประเด็น ได้แก่ 1. การปฏิรูปราชการ 2. การโยกย้ายนายทหารระดับสูง 3. กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ 4. ปัญหาการก่อการร้ายภาคใต้ และ 5. กรณีทุจริตการจัดซื้อปุ๋ย
Other Abstract: The objectives of the Discourse Analysis Of "PREMIER THAKSIN TALKS WITH THE PEOPLE" AND "CHUAN ONLINE" PROGRAMS are to examine the political, economic, social and cultural context of both political leaders, the forms and meanings of the issues that appear in the programs as well as to prove and present supportive evidence of the analytical results. The qualitative methodology was used by applying content analysis together with discourse analysis, documentary research and in-depth interview. The results of the study show that there are status, role, right, power, ideology, hegemony and gainings of the political interest involved in the discourse. Most of the speeches used in "Premier Thaksin talks with the people" program shows some characteristics of deliberative or policy speech while those used in "Chuan Online" program aim to encourage morality, ethics or epideictic speech. Moreover, five major argumentative points are found in both programs, which are, governmental reform, high-rank military officers transferring, the 11 economic recovery law, the Southern terrorism and the corruption in fertilizer purchasing.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/987
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.535
ISBN: 9741722427
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.535
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattanawadee.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.