Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/997
Title: การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต
Other Titles: The self-masquerade in chat room on the Internet
Authors: ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี, 2519-
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: กลุ่มสนทนาออนไลน์
การรับรู้ตนเอง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะตัวตนที่ปรากฏในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต วิเคราะห์แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการแปลงตัวตนและกระบวนการแปลงตัวตน และเพื่อวิเคราะห์บริบททางคอมพิวเตอร์ ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแปลงตัวตน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาลักษณะตัวตน ที่ปรากฏในห้องสนทนา และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่มีอิทธิพลทำให้บุคคล ที่เข้ามาใช้ห้องสนทนาต้องแปลงตัวตนและกระบวนการแปลงตัวตน อีกทั้งใช้วิธีสังเกตการณ์ภาคสนาม เพื่อวิเคราะห์บริบททางคอมพิวเตอร์ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแปลงตัวตน โดยใช้แนวคิดทางจิตวิทยาเรื่องตัวตน ทฤษฎีบุคลิกภาพ ทฤษฎีแรงจูงใจและพฤติกรรม แนวคิดการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ แนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ และแนวคิดเรื่องเพศเป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะตัวตนที่พบเห็นในห้องสนทนาตามเกณฑ์ทางประชากรศาสตร์ โดยมากเป็นเพศชาย อายุ 18-25 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี โสด อาศัยในกรุงเทพฯ และเป็นนักศึกษา ส่วนในเชิงจิตวิทยา ลักษณะตัวตนที่พบแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ ตัวตนที่มีความอ่อนไหว ตัวตนที่รักอิสระ ตัวตนที่เรียกร้องความสนใจ ตัวตนที่ต้องการอำนาจ และตัวตนที่มีความเป็นตัวของตัวเอง โดยตัวตนที่พบเห็นมักเป็นตัวตนประเภทปิดบังตัวเอง คือ รู้จักตนเองแต่ผู้อื่นไม่รู้ ตัวตนประเภทนี้ จะเข้ามาเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกซึ่งในโลกจริงไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากมีบรรทัดฐานทางสังคมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมอยู่ และตัวตนประเภทไม่รู้จักตนเองที่เข้ามาเพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริง 2) แรงจูงใจต่อการแปลงตัวตนเกิดจากความต้องการชนิดต่างๆ โดยแบ่งเป็นความต้องการทางกายเช่น เรื่องเพศ และความต้องการทางใจ เช่น การต้องการอำนาจ ความรัก หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ และอื่นๆ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ทำให้เกิดแรงขับ ให้เกิดกระบวนการแปลงตัวตนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ 3) บริบททางคอมพิวเตอร์มีส่วนเอื้ออำนวยให้เกิดการแปลงตัวตน เพราะเป็นบริบทที่ลดความรู้สึกทางประสาทสัมผัสทั้งห้า สภาวะที่ไร้ขอบเขตในการสื่อสาร ความมีตัวตนที่หลากหลาย และความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่าง
Other Abstract: To study and analyze the appearing identity, called virtual identity, on the Internet Chat Room. To analyze the motivation and the processes of masquerading and to analyze on how the computerization community supports or encourages the masquerading. The methods employed used in this research were content analysis for the first objective, focus group and in-depth interview for the second objective, and filed observation for the third objective. The research theories based on the self concept, Personality, Motivation and Behavior, Computer-Mediated Communications, Postmodern, and Gender theories as the conceptual framework of the research. The results of the research are: 1) The most of physical virtual identities are male, aging between 18-25, with undergraduated education, single, reside in Bangkok, and being students. On the psychology side, there are 5 categories of identities: Sensitive, Autonomy, Attention Drawing, Power, and Self Identify. Yet, by using the self concept and self disclosure, the most founded identities are hidden self (open to self, hidden from others). These identities come to join this virtual community to express their hidden emotion and feeling that they cannot do in the real world because of society's norm and rule. Another founded identity is unknown self who come to find their real self. 2) The reasons of masquerading can be determined by both the physical and psychological needs such as sex, power, love, and so on in which these needs resulting in the motivation and drive that create the masquerading to meet and achieve those needs. 3) The cyberspace environment facilitates and fascinates the masquerading and its processes due to its features of Reduce Sensation, Disinhibition Effect, Flexible Identity, and Alter Perception.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/997
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.563
ISBN: 9741712596
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.563
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Darin.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.