Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1010
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเมตตา วิวัฒนานุกูล-
dc.contributor.authorวัลลภัตม์ โคตะนนท์, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-24T06:25:24Z-
dc.date.available2006-07-24T06:25:24Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741752105-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1010-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง "การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ระหว่างครูและเด็กออทิสติก" เป็นการศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อสารของครูผู้สอน รวมถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสหวิธีวิทยาการ (Multiple methodology) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบและวิธีการสื่อสารระหว่างครูและเด็กออทิสติกในชั้นเรียนพิเศษโดยรวมพบว่ามีลักษณะของการจัดกลุ่มเด็กออทิสติกเป็นไปตามนโยบายของโรงเรียน ส่วนการจัดที่นั่งให้เด็กในชั้นเรียนจะปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการสอน และพฤติกรรมของเด็กออทิสติก สำหรับปัจจัยด้านลักษณะครูพบว่าครูส่วนใหญ่มีความคล่องแคล่ว กระตือรือร้น ช่างสังเกต อดทนและมีทัศนคติที่ดีกับเด็ก เนื้อหาวิชาที่สอนจะถูกประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันของสังคม มากกว่าจะสอนตามหนังสือ สื่อที่ใช้ประกอบจะต้องจับต้องได้ มีขนาดใหญ่ หรือมีสีสันสะดุดตา และเป็นของจริง เทคนิคการสอนของครู จะอาศัยการสอนให้เด็กเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหรือมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่สอน ส่วนปัจจัยด้านลักษณะเด็กออทิสติก ได้แก่ อาการของความผิดปกติ อารมณ์ และนิสัย ซึ่งมีผลต่อการเลือกรูปแบบการสอนและการสื่อสารของครูต่อเด็กดังนี้ 1.1. ความผิดปกติทางด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ครูจะใช้วิธีการเรียกชื่อบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็กและให้ทำงานกลุ่มหรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการเข้าสังคม 1.2. ความผิดปกติด้านพฤติกรรมจะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ผิดปกติโดยทันที คือ การสัมผัส การว่ากล่าวตักเตือน และการลงโทษ 1.3. ความผิดปกติด้านการสื่อความหมายและภาษา ครูจะใช้วิธีการพูดนำให้เด็กพูดตาม รวมถึงมีการใช้ท่าทางประกอบการพูดอย่างมาก 1.4. ส่วนความผิดปกติด้านจินตนาการ พบว่า ครูจะสอดแทรกการฝึกจินตนาการในงานที่มอบหมาย 2. ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบและวิธีการสื่อสารระหว่างครูและเด็กออทิสติก ได้แก่ 1. ปัจจัยภายในตัวเด็กออทิสติก 2. ปัจจัยภายในตัวครู 3. การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน 4. นโยบายโรงเรียน 5. ปัจจัยภายในกลุ่มเด็กออทิสติก และ 6. ปัจจัยภายนอกห้องเรียนen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study communication methods of the teachers and study variables which are related to instructional communication for autistic students. This research is qualitative, conducted by multiple methodology : documentary research, non-participant observation and in-depth interview. The findings of research are as follow. 1.Communication methods between a teacher and autistic children in a classroom complies with each school's policy. Seating is adjusted to teaching forms and autistic children’s behavior. From the study, it is found that teachers of autistic children possess the following qualifications: energetic, active, sensitive, patient, and good attitude. The teaching content is focused on real social or existing situation rather than on textbooks, while education aids are real objects which are tangible, predominant, colorful and big. Self-learning and direct experience will also be focused during the teaching. Components within the autistic children which affect how to choose teachingmethods are symptom of disorder, emotion and children's own characteristics. It is found that teachers choose the following teaching methods for each symptom of disorder: social interaction disorder: teachers call names repeatedly to stimulate children's attention, and encourage working in a group.; behavioral disorder, they use immediate feedback to stop undesirable action, such as touching, warning and punishment; meaning and language disorder, they say words for children to follow and use a lot of body language, and imagination disorder, they insert imaginative work in each assignment. 2 Factors influencing communication between teachers and autistic children are 1) internal variables within autistic children, 2) variables within a teacher, 3).the setting of classroom atmosphere, 4) a school's policy 5) variables within a group and 6) environmental or outside classroom variables.en
dc.format.extent922588 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.799-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารทางการศึกษาen
dc.subjectเด็กออทิสติก--การศึกษาen
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนen
dc.titleการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ระหว่างครูและเด็กออทิสติกen
dc.title.alternativeCommunication for leaning between a teacher and autistic childrenen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวาทวิทยาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.799-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanlapat.pdf984.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.