Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10317
Title: การใช้กระบวนการ เอ ไอ ซี ในการสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมของตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ ในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)
Other Titles: Application of A-I-C process to achieve participatory communications among representatives of occupational groups in the Eighth National Economic and Social Development Plan's formulation process
Authors: กัญญารักษ์ ศรีทองรุ่ง
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
สมชาย กรุสวนสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
fiespj@eng.chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
การพัฒนาประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540-2544)
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบของการสื่อสารโดยใช้กระบวนการ เอ ไอ ซี (A-I-C : Appreciation-Influence-Control) ที่ใช้ในการสัมมนาระดับภูมิภาคเพื่อระดมความคิดจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ จุดเด่น จุดด้อย และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ความพึงพอใจและประโยชน์ของการมีส่วนร่วม และข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมในแผนฯ ต่อไป เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้นำกระบวนการ เอ ไอ ซี มาใช้ 5 ราย และกลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมสัมมนา 25 ราย ประกอบด้วย ประชาชน นักพัฒนา นักวิชาการ นักธุรกิจ และข้าราชการจาก 5 อนุภูมิภาค ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการ เอ ไอ ซี เป็นเครื่องมือที่สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม และใช้ในการวางแผนได้ดีพอสมควร โดยใช้พลังแห่งการรับรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ และการจัดการ มีขั้นตอนระดมความคิด 5 ขั้น เกือบทุกขั้นจะมีการคิดคนเดียว คิดในกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ มีการแสดงออกโดยใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย ผลการสื่อสารที่เกิดขึ้น กลุ่มประชาชนที่ไม่ใช่ผู้นำและมีการศึกษาน้อยยังไม่ค่อยกล้าพูด ด้านเพศและวัยไม่พบว่ามีผลต่อการสื่อสารมากนัก การไม่รู้จักกันมาก่อนทำให้ฟังกันมากขึ้น แต่ทำให้ไม่เปิดใจเท่าที่ควรในตอนแรก กลยุทธ์ที่พบว่าทำให้คนกล้าหรืออยากแสดงความคิดเห็นเพราะมีการให้ความรัก ความเข้าใจ ใช้หลักประชาธิปไตย มีการคิดอย่างเป็นระบบ คิดทางบวก บรรยากาศเป็นกันเอง เป็นกระบวนการที่ง่าย และหลักการสอดคล้องกับพระพุทธศาสนา จุดเด่นและประโยชน์ของ เอ ไอ ซี พบว่าช่วยลดช่องว่างของความแตกต่างด้านต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง ลดความขัดแย้ง ช่วยให้กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น มีการรับฟังกันโดยไม่มีการตำหนิ กลุ่มอาชีพต่างๆ ได้เรียนรู้กัน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีความผูกพันกับแผนฯ 8 เกิดเครือข่ายในการพัฒนา ส่วนข้อด้อยและข้อจำกัดนั้นพบว่า เกิดปัญหาด้านการสื่อสารและเกิดความข้ดแย้ง การเชิญคนยังไม่ครบถ้วนและบางรายไม่เป็นตัวแทนที่แท้จริง เป็นการประชุมที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องมีผู้ชำนาญเตรียมการและเป็นวิทยากร นอกจากนี้พบว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจและภูมิใจที่ได้เข้ามีส่วนร่วมจัดทำแผนระดับชาติ การมีส่วนร่วมมีประโยชน์ต่อการจัดทำแผนฯ 8 และการพัฒนาประเทศ โดยช่วยให้ทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ได้แนวคิดใหม่ในการพัฒนา อยากติดตามความก้าวหน้า และเกิดเครือข่ายในการพัฒนา นอกจากนี้ยังเกิดประโยชน์กับผู้มีส่วนร่วมเอง กลุ่มตัวอย่างต้องการให้จัดระดมความคิดจากประชาชนในการทำแผนฯ ฉบับต่อไป โดยขยายกลุ่มผู้มีส่วนร่วมให้กว้างขวางขึ้น และเป็นตัวแทนที่แท้จริง มีวิสัยทัศน์ กล้าแสดงออก และควรนำกระบวนการ เอ ไอ ซี ไปใช้ โดยปรับปรุงขั้นตอนให้เหมาะสม ใช้วิธีการสื่อสารที่แต่ละคนถนัดตามขั้นตอนต่าง ๆ ส่วนการจัดให้มีส่วนร่วมนั้นเสนอให้จัดการประชุมในระดับย่อยก่อน เช่น ระดับจังหวัด หรือกลุ่มอาชีพ และคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมประชุมในระดับภูมิภาคต่อไป
Other Abstract: The objectives of this study are four-fold: to analyze the process of AIC (Appreciation-Influence-Control), which was the communication technique used to facilitate a regional seminar on the formulation of the Eight National Economic and Social Development Plan (1997-2001); to examine actual participation among representative groups in the Eight Plan; to identify the strengths and weaknesses of, as well as constraints on, the technique; and to recommend techniques used to support participation in the formulation of national plans. Data were collected through a series of in-depth interviews with five leaders who applied AIC technique and 25 representatives of occupational groups who participated in the regional seminar, comprising community members, developers, academics, businessmen, and government officials. This study concluded that the AIC process facilitated and improved participation in planning, using the strength of recognition, relationships, and management. Five stages in creating dialogue through exercises designed to gain participation were identified. Each stage involves individual thinking, small and larger group assessment, and the feedback through a variety of communication methods. The communication results indicated that non-leader and less-educated groups were passive audience; gender and age made the slightest difference to communication outcome; and unfamiliarity created the condition for listening, but also kept participants aloof at the beginning of the communication process. Strategic factors determining teh ability to speak out included an expression of loving kindness, understanding, favoring democracy, systematic and positive thinking, and simple and friendly environment which corresponds to Buddhism. Participants at the regional seminar on the Eight National Development Plan spoke in favor of continual involvement of the public in the process of national plans formulation. The process could be expanded to include all stakeholders who were valid representatives, men of vision, and outspoken. They also advocated the AIC process, with improvement in stages and methods of communication. To ensure effective involvement, the study found it useful to organize small-group meetings (e.g., at the provincial level, among occupational groups) where group representatives would then be selected to participate in regional seminars.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10317
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.326
ISBN: 9743347259
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.326
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyarak_Sr_front.pdf970.89 kBAdobe PDFView/Open
Kanyarak_Sr_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Kanyarak_Sr_ch2..pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Kanyarak_Sr_ch3.pdf965.31 kBAdobe PDFView/Open
Kanyarak_Sr_ch4.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open
Kanyarak_Sr_ch5.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Kanyarak_Sr_back.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.