Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1058
Title: กระบวนการสื่อสารเพื่อการธำรงรักษางานประเพณีรับบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Communication process for maintaining Rub Bua festival in Bang Phli district, Samut Prakan province
Authors: ศิรดา พงษ์ภมร, 2520-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การสื่อสารในการจัดการ
การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก
งานประเพณีรับบัว
ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารที่ใช้ในการจัดงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาบทบาทสำคัญของผู้นำที่มีต่อการจัดงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อกำหนดกระบวนการสื่อสารสำหรับการธำรงรักษาและเผยแพร่ประเพณีที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่สุด การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interview) โดยบุคคลที่ทำการสัมภาษณ์ ได้แก่ กลุ่มผู้นำอำเภอ สมาชิกในกลุ่มอำเภอ บุคคลภายนอกพื้นที่อำเภอบางพลีที่เคยมาเที่ยวงานรับบัว รวมถึงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาพนอกที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการสื่อสารในช่วงของการเตรียมงานประเพณีรับบัวจะเกิดในกลุ่มขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษมากกว่าในกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ เพราะเป็นการคุยกันในที่ประชุม แต่การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการยังมีให้พบเห็นอยู่ทั่ว ทิศทางการสื่อสารเป็นแบบสองทาง มีทิศทางการไหลของสารจากบนลงล่าง และในระดับเดียวกัน ช่วงการถ่ายทอดกิจกรรมการตกแต่งเรือพบว่า ส่วนใหญ่ใช้การปฏิบัติจริงเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด ซึ่งการสื่อสารจะมีทิศทางการสื่อสารสองทาง ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ โดยใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดประเพณีและกิจกรรมต่างๆ โดยใช้การสื่อสารแบบสองทาง รุปแบบการสื่อสารมีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้นำส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ เป็นผู้ส่งสารที่ดี เนื่องจากมีความรู้ในเรื่องประเพณีรับบัวอย่างมาก อีกทั้งยังมีทัศนคติที่ดีต่องานประเพณี ทำให้การส่งสารมีประสิทธิภาพ ส่วนกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการธำรงรักษาและแผยแพร่ประเพณีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสารและการถ่ายทอดความรู้ของแต่ละคนเป็นสำคัญ การสื่อสารแบบสองทางทำให้การสื่อสารมีความถูกต้องมากกว่าการสื่อสารทางเดียว สร้างความมั่นใจแก่ผู้รับสารมากกว่า รวมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจน การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เช่น การกระจายข่าวสู่ชุมชนแบบปากต่อปาก และการถ่ายทอดกิจกรรมในงาน เป็นกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งในการธำรงรักษางานประเพณีต่อไป
Other Abstract: This study explores the communication process for maintaining Rab Bua festival. Indepth interview was conducted with 32 key informants namely: the festival organizers, community members and guests from other communities who join the festival including staffs from related organizations. The study reveals that communication occurring during preparing phase mostly is in the form of small group formal meetings. However, informal communication is apparent in this phase. The direction of communication is two ways; top-down and horizontal. In the tradition transferal phase, communicating is through practices. It is two way informal communication using verbal and nonverbal languages. Community leaders play an important communicating role for maintaining the tradition. Most of them are local people and have good communicating skill since they know much about the tradition and have good attitude toward the festival resulting in effective message transfer. Effective communication pattern to maintain the tradition depends on communication skill and knowledge transfer. Two-way communications is accepted as being more accurate and gains more receivers confidence. Moreover, it creates a clear understanding to members. Informal communications such as mouth to mouth news transmitting and activities participation are ones of the effective communication process to maintain the tradition.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1058
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.21
ISBN: 9741771967
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.21
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirada_Pong.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.