Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1145
Title: การวางนัยทั่วไปสำหรับข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยวิธีนิกเกอร์สันและฟรีแมน
Other Titles: Generalization for map features by the Nickerson & Freeman method in geographic information system
Authors: เจษฎา เกิดศรีเล็ก, 2516-
Advisors: บรรเจิด พละการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Banjerd.P@chula.ac.th
Subjects: มาตราส่วน
แผนที่
การทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีคำสั่งย่อ/ขยาย ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงมาตราส่วนของแผนที่ได้ง่าย แต่ข้อมูลที่ได้ยังไม่ถูกต้องตามหลักการทำแผนที่ การเจนเนอราลไลซ์เซชั่น (Generalization) เป็นขบวนการจัดการกับรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูลบนแผนที่ เมื่อพิจารณาการย่อมาตราส่วนแผนที่จากแผนที่มาตราส่วนใหญ่เพื่อคัดเลือกข้อมูลที่จะแสดงบนแผนที่มาตราส่วนกลางและมาตราส่วนเล็ก และรวมถึงการลดรายละเอียดของวัตถุบนแผนที่เมื่อวัตถุนั้นมีรายละเอียดมากเกินกว่าที่จะแสดง การวิจัยนี้ได้นำวิธีการเจนเนอราลไลซ์มาใช้บนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยได้นำแนวความคิดของ NICKERSON & FREEMAN ที่ได้เสนอขั้นตอนการเจนเนอราลไลซ์ไว้ 3 กระบวนการ คือกระบวนการคัดเลือกข้อมูล กระบวนการปรับแต่งให้เหมาะสม และกระบวนการตรวจสอบการทับซ้อน เพื่อให้สามารถใช้แผนที่ได้ง่ายและตรงตามวัตถุประสงค์ของแผนที่นั้น การวิจัยครั้งนี้จะเจนเนอราลไลซ์แผนที่จาก แผนที่มาตราส่วน 1:6,000เพื่อสร้างแผนที่มาตราส่วน 1:10,000 1:20,000 1:50,000 และ 1:250,000 โดยมีทฤษฎีและฐานข้อกำหนดที่จัดสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์แผนที่ภูมิประเทศต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้วิจัยได้จัดทำโปรแกรมประยุกต์ช่วยในการเจนเนอราลไลซ์แผนที่ โดยการประเมินผลใช้วิธีเปรียบเทียบรูปแผนที่ที่ได้จากโปรแกรมประยุกต์กับแผนที่ 1:10,000 1:20,000 1:50,000 และ 1:250,000 ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การความร่วมระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) และ กรมแผนที่ทหาร (RTSD) พบว่าผลที่ได้มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งการวิจัยนี้ยังสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานเจนเนอราลไลซ์ บนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Geographic information systems generally have an ability to enlarge or reduce map display area thus they can easily change the map scale. However, in the most cases, the maps displayed are not properly represented according to the cartography principle. Generalization is a process to manage all the information on the map ocnsidering the reducing scale from the larger scale map to properly represent information on the middle scale and small scale map. This is achieved by reducing information of objects on the map which is too excessive to present and therefore reduce legibility of the map. This research applied the generalization onto a geographic information system using the theory of Nickerson & Freeman. They proposed 3 processes of generalization which are selection, simplification and displacement. The generalization will reduce details a map to a legible level on the basis of its objective. In this research, a map at scale 1:6,000 was automatically generalized to scale 1:10,000, 1:20,000, 1:50,000 and 1:250,000. The rules used are established from the existing topographic map analysis. The methodology used in the programs are evaluated by a comparison between the resulting maps generalized at various scales, 1:10,000 1:20,000 1:50,000 and 1:250,000, and their corresponding existing map compiled by Royal Thai Survey Development (RTSD) and Japan International Corporation Agency (JICA). In most cases the comparison is well matched so that the methodology is considered acceptable. Thus, this thesis finally provides a workable process that can act as a fundamental methodology for the generalization in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1145
ISBN: 9740314732
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jedsada.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.