Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12548
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนตร์โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พ.ศ.2539-2541)
Other Titles: The content analysis of public relations advertising commercials (1996-1998)
Authors: โชติรส อุตสาหกิจ
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์โฆษณา
การวิเคราะห์เนื้อหา
การประชาสัมพันธ์
สัญศาสตร์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสังคม หัวข้อหรือสาระ แนวคิด และการสื่อสารความหมายที่ใช้ในภาพยนตร์โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่เข้ารอบสุดท้ายของการประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย (tact awards) พ.ศ. 2539-2541 จำนวน 50 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาสังคม 13 ปัญหาที่นำเสนอในภาพยนตร์โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ จำนวน 39 เรื่อง เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ 3 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาด้านพลังงาน ปัญหาด้านค่าครองชีพสูง และปัญหาด้านความยากจน และเป็นปัญหาทางสังคม 10 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาด้านอาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ ปัญหาด้านศีลธรรม วัฒนธรรม และจิตใจ ปัญหาด้านครอบครัว ปัญหาด้านทุพพโภชนาการ ปัญหาด้านคนชรา/วัยรุ่น ปัญหาด้านการใช้ แรงงานเด็กและสตรี ปัญหาด้านยาเสพติด และปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและโรคภัยไข้เจ็บ 2. หัวข้อหรือสาระที่มีอัตราการนำเสนอสูงสุด ได้แก่ หัวข้อหรือสาระที่เน้นด้านสถาบัน รองลงมาคือหัวข้อหรือสาระที่เน้นด้านเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังมีหัวช้อหรือสาระที่เน้นการให้บริการสาธารณะ เน้นด้านเหตุการณ์พิเศษที่สถาบันจัดขึ้น และเน้นด้านการขอความสนับสนุน 3. แนวคิดที่มีอัตราการนำเสนอสูงสุด ได้แก่ ปัญหาและการแก้ไข รองลงมาคือการใช้ความสะเทือนอารมณ์ นอกจากนั้นยังมีการอ้างเหตุผล การใช้บุคคลิกของผู้แสดง การใช้ความน่ารักน่าเอ็นดูของผู้แสดง การใช้อารมณ์ขัน การใช้สัญญลักษณ์ การเปรียบเทียบ และการใช้รูปแบบวัฒนธรรม 4. การสื่อความหมายนัยตรงและการสื่อความหมายนัยแฝง มีการนำเสนอในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
Other Abstract: This research aimed at the social problems, themes, concepts and signification presented in public relations advertising commercials. The data were analyzed by means of content analysis of 50 TV public relations advertising commercials nominated to TACT Awards Contest (1996-1998) The results of the study were as follows: 1. Thirteen social problems were presented in 39 public relations advertising commercials. Three of them were economic problem i.e. energy problem, cost of living problem and poverty problem. The rest 10 problems were social welfare problems i.e. crime and insecurity in life and property, education, evironment and natural resource, moral, culture and state of mind, family, malnutrition, elders and juvenile delinquency, abuse of children and women labour, drug addition and health and illness. 2. The most popular theme presented in the commercials was "institution". The second popular theme was "economy". The rest were "public service", "special events" and "advocacy of issue." 3. The most popular concept presented in the commercials was "problem-resolution." The second popular concept was "sendational." The rest were "renson-why", "personality", "chattiness", "humour", "symbol", "comparison" and "culture". 4. The signification of the commercials was equally presented in denotation and connotation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12548
ISBN: 9743316574
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chotiros_Ut_front.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Chotiros_Ut_ch1.pdf742.27 kBAdobe PDFView/Open
Chotiros_Ut_ch2.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Chotiros_Ut_ch3.pdf717.03 kBAdobe PDFView/Open
Chotiros_Ut_ch4.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Chotiros_Ut_ch5.pdf870.19 kBAdobe PDFView/Open
Chotiros_Ut_back.pdf757.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.