Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13113
Title: การใช้ข้อมูลฐานจีพีเอสสำหรับการปรับเส้นทางรถบรรทุกสินค้าขาเข้า
Other Titles: Use of GPS-Based data for rerouting inbound trucks
Authors: ประพนธ์ ชื่นชม
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sompong.Si@Chula.ac.th
Subjects: การขนส่งสินค้า
ตำแหน่งภูมิศาสตร์ -- ฐานข้อมูล
เส้นทางรถบรรทุก
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาระบบที่ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลจีพีเอสสำหรับการจัดการ กองรถบรรทุกที่ให้บริการรวบรวมสินค้าจากจุดงานกลับเข้าศูนย์กระจายสินค้า โดยมีเป้าหมายในการลด ความล่าช้าที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการขนส่ง การพัฒนาระบบการจัดการกองรถบรรทุกได้ประยุกต์ใช้ วิธีการค้นหาคำตอบเฉพาะที่เชิงการปรับปรุงในลักษณะการแลกเปลี่ยนจุดงาน เพื่อปรับเปลี่ยนเส้นทาง ระหว่างดำเนินการขนส่งของรถคันที่ล่าช้ากับรถขนส่งที่ดำเนินงานตามตารางเวลา การพัฒนาระบบ ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ให้บริการระบบจีพีเอส ผู้ประกอบการขนส่งที่ใช้ระบบจีพีเอส และผู้ประกอบการขนส่งที่ใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อการทดสอบระบบ ทั้งนี้ระบบการจัดการกองรถบรรทุกที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ ส่วนที่หนึ่งคือระบบฐานข้อมูล ที่มีหน้าที่ในการจัดการและเก็บรักษาข้อมูลของทั้งระบบ ส่วนที่สองเป็นการกำหนดตารางดำเนินงาน เริ่มต้นเพื่อใช้ควบคุมการทำงานของรถขนส่งทั้งกองรถ และส่วนที่สามเป็นส่วนนำเข้าข้อมูลจีพีเอส เพื่อคำนวณปรับเปลี่ยนตารางดำเนินงานและเส้นทางขนส่ง การทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้นดำเนินการ โดยวิธีประยุกต์ใช้ระบบการจัดการกับกรณีศึกษาจำลอง ซึ่งพบว่าระบบสามารถลดเวลาล่าช้าได้ในเพียง บางสถานการณ์ การจัดการกองรถขนส่งกาปรับเปลี่ยนเส้นทางที่ระบบแนะนำ จะส่งผลให้รถขนส่ง ส่วนใหญ่มีเวลาล่าช้าลดลง แต่สิ่งที่ตามมาคือ ต้นทุนขนส่งที่อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากระยะทางขนส่งที่เพิ่ม มากขึ้นจากการปรับเปลี่ยนเส้นทางขนส่ง
Other Abstract: To develop a system that utilizes GPS-based data in managing a fleet of inbound trucks serving a distribution center (DC). The target of the system is to reduce the delivery delay by applying the local improvement technique (LI) and search mechanism to exchange assigements between the delayed truck and the remaining trucks. The system development utilizes data collected from three groups of companies including a GPS services provider, a trucking company having the GPS system in operation, and a trucking company representing the case for system testing. The developed system consists of 3 modules. The first module is the database module designed to manage and maintain the needed data. The second module is the initial schedule determination module employed to control the scheduling of the fleet operation. The third module is the module for determining scheduling and routing modifications. A hypothetical case is developed for validating the performance of the system. It is found that the system provides improvements in certain scenarios in which the rescheduling solutions proposed would resulting in reduced delay but a possible increase in operation cost due to the increase in distance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13113
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.725
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.725
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapon_Ch.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.