Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14217
Title: การวิเคราะห์ความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรการเงินในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Other Titles: An analysis of equitability in financial resource allocation among public universities
Authors: เฟี่องอรุณ ปรีดีดิลก
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
เทียนฉาย กีระนันทน์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th
Thienchay.K@chula.ac.th
Subjects: งบประมาณการศึกษา -- ไทย
สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- การเงิน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาวะการจัดสรรทรัพยากรการเงินในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นธรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรม ในการจัดสรรทรัพยากรการเงินในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยมีขั้นตอนดังนี้ (1) วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อให้ได้สภาวะการจัดสรรทรัพยากรการเงินในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) วิเคราะห์สภาวะความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรการเงินโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และประมาณค่าสัมประสิทธิ์จินี (Gini coefficent: G) และโค้งลอเรนซ์ (Lorenze curve) และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเชิงประมาณและเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการประมาณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient: r) โดยมีขอบเขตในการวิเคราะห์เฉพาะการจัดสรรทรัพยากรการเงิน หรืองบประมาณแผ่นดินสำหรับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี และไม่จำแนกความแตกต่างของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในด้านสาขาวิชาที่เปิดสอน ซึ่งมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตในแต่ละสาขาวิชามีความแตกต่างกัน รวมทั้งความแตกต่างในระดับการศึกษาที่เปิดสอน ความแตกต่างในการเน้นพันธกิจด้านการวิจัย และความแตกต่างในคุณภาพของผลผลิตหรือบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า ภายใต้ขอบเขตจำกัดของการวิจัยและภายใต้ช่วงระยะเวลาการจัดสรรทรัพยากรการเงิน ให้กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2546 นั้น มีความไม่เป็นธรรมในการจัดสรร ทั้งเมื่อเปรียบเทียบรวมทุกสถาบันและเมื่อเปรียบเทียบแยก 3 สังกัด จำแนกตามสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยเดิม สถาบันราชภัฏ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อพิจารณาถึงงบประมาณแผ่นดินโดยรวมทุกประเภทงบประมาณ ทุกหมวดรายจ่าย และเมื่อพิจารณาเป็นงบประมาณโดยรวมต่อหัวนักศึกษาปริญญาตรี ทุกประเภทงบประมาณ และทุกหมวดรายจ่ายต่อหัวนักศึกษาปริญญาตรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรการเงินเชิงปริมาณ ได้แก่ ฐานงบประมาณที่เคยได้รับ จำนวนอาจารย์และจำนวนนักศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเชิงคุณภาพ ได้แก่ รูปแบบและวิธีจัดสรรงบประมาณ ปรัชญาการแบ่งรับภาระค่าใช้จ่าย การอุดหนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระบบงบประมาณ แนวทางงบประมาณ แนวคิดเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนทางสังคม และอัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
Other Abstract: To (1) analyze the condition of financial resource allocation among public universities and (2) analyze an equitability and factors involved equitability in financial resource allocation among public universities. The research methods are (1) content analysis from the Annual Budget Report of Bureau of the Budget, budget report of universities and other related statistical documents for finding condition of financial resource allocation (2) analyze the equitability of financial resource allocation by use of content analysis, Gini coefficient (G) statistical and Lorenze curve and (3) analyze the factors involved financial resource allocation by use of content analysis and Correlation coefficient (r). The scope of analysis particularly covers the public funding at the undergraduate level; the categorization of features is excluded because of differences in offered programs, professionalization of graduates, research mission and quality of graduates. The study found that the budget allocation to public universities between 1997-2003 reflected inequitability among all universities and by comparison of three groups; universities under the former Ministry of University Affairs, Rajabhat institutes and Rajamangala Institutes of Technology on the basis of entire budget and categorized budget. The Factors related to the equity in quantitative aspect were the budget previous years, the numbers of teachers and students. Factors related to the equity in qualitative aspect were pattern and method of budget allocation, philosophy of cost-sharing, higher education finance, budgeting system, budgeting guidelines, social and private rate of return, and economic situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14217
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.529
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.529
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fuangarun_Pr.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.