Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14279
Title: แนวคิดเรื่องการทำงานคือการปฏิบัติธรรมของท่านพุทธทาส
Other Titles: Buddhadasa on work as the practice of Dhamma
Authors: ศรียุดา อนุวรรณะวิภาค
Advisors: สมภาร พรมทา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Somparn.P@chula.ac.th
Subjects: พุทธทาสภิกขุ, 2449-2532
การทำงาน
การปฏิบัติธรรม
ธรรมะ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำงานคือการปฏิบัติธรรมเป็นแนวคิดที่ท่านพุทธทาสมุ่งแสดงให้เห็นว่า การทำงานในชีวิตประจำวันสามารถไปด้วยกันได้กับการปฏิบัติธรรม โดยอธิบายความหมายของโลกกับธรรมว่าไม่แยกจากกัน การทำงานใดๆ ที่ผู้กระทำประพฤติด้วยจิตที่เข้าถึงธรรมะคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่ตามแนวคิดนี้เรียกว่าการทำงานด้วยจิตว่าง ย่อมถือเป็นการปฏิบัติธรรม เกณฑ์ในการวัดว่าเป็นการปฏิบัติธรรมนั้นให้พิจารณาสภาวะจิตขณะกระทำเป็นหลัก ดังนั้นการงานในที่นี้จึงหมายถึงการกระทำทั้งมวลที่ผู้กระทำมุ่งใช้เป็นสถานการณ์สำหรับฝึกฝนจิต ตั้งแต่การกระทำพื้นฐาน เช่น การกิน การเดิน ไปจนถึงการกระทำที่มีความซับซ้อน เช่น การเป็นนักออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการปฏิบัติธรรมเองก็ก็นับเป็นการทำงานอย่างหนึ่งด้วย ในที่นี้มีข้อโต้แย้งฝ่ายฆราวาส คัมภีร์วิสุทธิมรรคและอรรถกา ซึ่งทั้งสองประการหลังเป็นคัมภีร์สำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท ที่มองว่าการทำงานนั้นไม่อาจไปด้วยกันได้กับการปฏิบัติธรรม จากการศึกษาพบว่า ทัศนะที่โต้แย้งนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้าใจความหมายของคำว่าการทำงานและการปฏิบัติธรรม คลาดเคลื่อนไปจากแนวทางอธิบายของท่านพุทธทาส ซึ่งถ้าทำความเข้าใจแล้ว จะพบว่าการทำงานในที่นี้ไม่ขัดแย้งกับการปฏิบัติธรรมแต่อย่างใด เพราะการทำงานนั้นหากมุ่งใช้เป็นสถานการณ์ในการฝึกฝนจิตเพื่อละกิเลส ก็สามารถเป็นการปฏิบัติธรรมได้อีกส่วนหนึ่ง ฝ่ายที่โต้แย้งมองว่าการปฏิบัติธรรมตามจารีตกระแสหลักเท่านั้น จึงจะนำไปสู่การมีสมาธิและปัญญาในระดับที่เพียงพอแก่การพิจารณาโลกตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตามการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมตามแนวคิดการทำงานคือการปฏิบัติธรรม สามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำไปสู่การเข้าใจความจริงของโลกและชีวิต เพียงแต่ในกรอบของพุทธศาสนาเถรวาทยังไม่พบหลักฐานรองรับมากเพียงพอ
Other Abstract: "Work as practice of Dhamma" is a religious principle given by Buddhadasa Bhikku. He states that working in daily life and the practice of Dhamma can be performed at the same time. Whenever a person works the mind free from any kind of defilement, that is the practice of Dhamma. The claim that such working being the practice of Dhamma is mainly considered from the present moment of the mind which is free from defilement. In conclusion, the work meant here includes all kinds of work, ranking from the most basic such as eating and walking to the most complicated such as working as the computer programmer, and they are counted as the practice of Dhamma on the grounds that they are used for the training of the mind. In turn, the practice of Dhamma is viewed by Buddhadasa as a kind of work. There are number of arguments given against the above principle of Buddhadasa. Some of them are from the laity and some from the classical texts such as the Visuddhimagga and the commentary to the Tipitaka. From the study, it is founded that these argument are party based on the misunderstanding of Buddhadasa's principle. If it is properly understood, a person will find that there is no conflict between daily life working and the practice of Dhamma. It seems that the arguments against Buddhadasa's doctrine are based on the belief that only the practice of Dhamma as founded in the classical texts can lead to enlightenment. It is found from the study that what gained from Buddhadasa's doctrine could be compared with a thing called insight in classical texts. However, as regards Nibbana as the ultimate goal stated in the classical texts, it is not founded that the principle given Buddhadasa has been supported by the texts.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14279
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.150
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.150
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriyuda_an.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.