Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/145
Title: โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันในอุตสาหกรรมผ้าอนามัย
Other Titles: Market structure and competition of sanitary napkin industry
Authors: สุทธิยา พานิชกุล, 2522-
Advisors: เทียนฉาย กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Thienchay.K@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมผ้าอนามัย
โครงสร้างตลาด
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2485 โดยมีตราสินค้าแรกคือ โกเต๊กซ์ ของบริษัทคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค เนื่องจากผ้าอนามัยถือได้ว่าเป็นสินค้าจำเป็นที่ผู้หญิงต้องใช้เป็นประจำทุกเดือน ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยมีการพัฒนาทั้งในด้านรูปแบบ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จนถึงปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ทั้งสิ้น 5 ราย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงวิวัฒนาการและภาพรวมโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมผ้าอนามัย รวมถึงการวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมผ้าอนามัย โดยใช้ข้อมูลระหว่างปีพ.ศ. 2541-2543 เปรียบเทียบเฉพาะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยรายใหญ่ 5 ราย ซึ่งเก็บรวมรวบจากหนังสือ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์และจากการรวบรวมของหน่วยงานราชการต่างๆ รวมถึงการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้ผลิต จากนั้นจึงวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณคือ การคำนวณค่าการกระจุกตัว โดยใช้อัตราส่วนการกระจุกตัว (CR) ดัชนี Herfindahl Summary Index (HSI) และ ดัชนี Comprehensive Concentration Index (CCI) และวิเคราะห์ในเชิงพรรณาถึงอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ที่จะเข้ามาแข่งขัน ความแตกต่างของสินค้าและพฤติกรรมการแข่งขันทางด้านราคาและไม่ใช่ราคา ผลการศึกษาทำให้พบว่าอุตสาหกรรมผ้าอนามัย มีโครงสร้างตลาดผู้ขายน้อยรายแบบ Differentiated Oligopoly เนื่องจากมีระดับการกระจุกตัวในอุตสาหกรรมสูง มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดหลายประการ เช่น ความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค การประหยัดต่อขนาด เป็นต้น และสินค้ามีความแตกต่างกันแต่สามารถทดแทนกันได้ ในอุตสาหกรรมนี้ไม่นิยมใช้การแข่งขันทางด้านราคา แต่จะใช้การแข่งขันที่ไม่ใช่ราคามากกว่า โดยเฉพาะทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาให้หลากหลายและแตกต่างจากผู้อื่น รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย
Other Abstract: Kimberly-Clark firstly introduced the first sanitary napkin, Kotex, to Thai people in 1942. Since then the sanitary napkin became a necessity for womenʼs lifestyle. To fulfill different needs, the sanitary napkin manufacturers have been adjusted into various types. Currently there are 5 leading companies in the industry. The objectives of this study are to study the evolution and current situation of the sanitary napkin industry, as well as to analyze its market structure and competition by comparing the data of the top-five companies that occurred during year 1998-2000. The data comes from different source such as books, magazines, journals, newspapers, government department and the interview with the companies. The data was analyzed by using the qualitative method of Concentration Ratio (CR), Herfindahl Summary Index (HSI) and Comprehensive Concentration Index (CCI) and descriptive method. From the analysis, the market structure of sanitary napkin industry is in the form of Differentiated Oligopoly because it has high concentration, also has high entry barriers to prevent new competitors to enter the market such as high level of brand loyalty and highly-differentiated products. The sanitary napkin industry rarely use price to compete but adopts non-price competition, for instance, improving the new differentiated product, advertising and sales promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2544
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/145
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.525
ISBN: 9740309399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.525
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthiya.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.