Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15517
Title: การพึ่งพาและการใช้ประโยชน์ข่าวสารและความรู้ด้านการเกษตรจากสื่อใหม่ของเกษตรกรไทย
Other Titles: Thai farmer's new media dependency and uses of agricultural information and knowledge
Authors: สุวัฒน์ชัย กิจวรพัฒน์
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชน -- แง่สังคม
การเปิดรับข่าวสาร
เกษตรกรรม
อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตในเกษตรกรรม
เกษตรกร -- ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพฤติกรรมการพึ่งพา การรับรู้ และการใช้ประโยชน์ข่าวสารและความรู้ด้านการเกษตรจากสื่อใหม่ รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาวะทางสังคมด้านเศรษฐกิจการเกษตร ปัจจัยบทบาทสื่อ และปัจจัยความต้องการส่วนบุคคลของเกษตรกรกับการพึ่งพาสื่อใหม่ โดยสำรวจจาก (1) กลุ่มเกษตรกรที่เข้าใช้อินเทอร์เน็ต จำนวน 300 คน และ (2) กลุ่มเกษตรกรที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสถิติ t-test ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยการรับรู้สภาวะทางสังคมด้านเศรษฐกิจการเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงสอดคล้องกับพฤติกรรมการพึ่งพาสื่อเว็บไซต์การเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยการรับรู้บทบาทสื่อด้านการเกษตร ปัจจัยความต้องการใช้ข้อมูลการเกษตร และปัจจัยความต้องการจำเป็นของเกษตรกรด้านการเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงสอดคล้องกับพฤติกรรมการพึ่งพาสื่อเว็บไซต์การเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) กลุ่มเกษตรกรที่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมีทัศนคติในทางบวกต่อสื่อใหม่ มากกว่ากลุ่มเกษตรกรที่ไม่ใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01.
Other Abstract: The research objectives are (1) to study new media dependency, perception and uses of agricultural information and knowledge and (2) to analyze the relationship between new media dependency and the perception on agricultural social condition media role in disseminating agricultural information and needs for agricultural information and knowledge. This research was studied on group of 300 farmers that use the internet and group another of 100 farmers who do not use the internet. Questionnaires were used in this survey research. SPSS program was utilized to analyze data using statistics such as frequency distribution, means, percentage, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and t-test to study variables and test hypothesis. Research results are as follows : (1) Farmer’s perception on agricultural social condition is significantly and positively correlated with their agricultural website dependency at p = 0.05 level. (2) Farmer’s perception on the role of media in agricultural, the need for agricultural information using and the need for solving agricultural problems are significantly and positively correlated with the agricultural website dependency at p = 0.01 level. (3) A group of farmers using internet has more positive attitude new media than a group of non-new media users with significant positive correlation at p = 0.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15517
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.723
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.723
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwatchai_ki.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.