Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15945
Title: แนวทางการเพิ่มการใช้รถรับส่งนักเรียนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines on increase in school bus ridership in Bangkok
Authors: อัจฉรา ลิ้มมณฑล
Advisors: จิตติชัย รุจนกนกนาฏ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittichai.R@Chula.ac.th
Subjects: รถโรงเรียน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
รถโรงเรียน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รถรับส่งนักเรียนเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้รถโดยสารร่วมกัน เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางให้แก่นักเรียน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจเลือกใช้รถรับส่งนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้ศึกษาโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างในเขตจตุจักร จำนวน 5 โรงเรียน ซึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ใช้การสัมภาษณ์ฝ่ายบริการของโรงเรียน ที่มีหน้าที่ดูแลการให้บริการรถรับส่งนักเรียนอยู่ รวมทั้งแจกแบบสอบถามแก่ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 419 ชุด จากจำนวนทั้งหมด 619 ชุด จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ทางสถิติเบื้องต้น และสร้างแบบจำลองการเลือกรูปแบบการเดินทาง โดยจากผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของผู้ปกครอง โดยปัจจัยที่มีผลให้ผู้ปกครองมีแนวโน้มจะเลือกใช้บริการรถรับส่งนักเรียน มากกว่ารูปแบบการเดินทางอื่น ได้แก่ อาชีพของผู้ปกครองที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวและลูกจ้างเอกชน ผู้ปกครองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูง และมีบุตรหลานมากกว่า 1 คน ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน นอกจากนี้ ปัจจัยหลักที่มีผลให้ผู้ปกครองไม่เลือกใช้บริการรถรับส่งนักเรียนคือ ที่พักอาศัยอยู่ใกล้โรงเรียน และสภาพสังคมไทยที่นิยมเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถาม ได้เสนอเป็นแนวนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ในการเพิ่มการใช้รถรับส่งนักเรียน การศึกษาและเสนอแนะแนวนโยบายพบว่า ปัญหาที่สำคัญของการจัดบริการคือ ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นจากการรณรงค์ให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงประโยชน์ และความสำคัญของการบริการรถรับส่งนักเรียน เพื่อดำเนินการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐอย่างจริงจัง มาใช้ในการจัดบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ผู้ปกครองตัดสินใจใช้บริการเพิ่มขึ้น
Other Abstract: School bus is one of ridesharing modes for commuting to schools by children. School bus, if successfully implemented, would reduce peak-hour automobile travels and increase student’s travel safety. The objective of this study is to unveil the factors influencing parental decisions regarding their child’s use of school bus in Bangkok. Five schools with school buses in Chatuchak District, inner Bangkok, were studied. This includes interviews of key managing teachers and questionaire distribution to students’ parents. 419 of 619 questionaires were returned and analyzed using descriptive statistics as well as logit choice model equations. The results reveal parents’ characteristics which are likely to use school bus than others such as have business owners or business employees occupations, have high income and have more than one child in a particular school. Main reasons of why parents are not using the service are due to short school trip distance and Thai culture of parental care. The study data suggest that to government and private sectors would develop strategies to both schools and parents to promote the use of school bus by showing the benefits and importance of school bus service and government agencies should allocate more funds in order to persuade parents to use more school bus services.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15945
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.141
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.141
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_li.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.