Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15962
Title: | อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ผลป้อนกลับ และกลวิธีการจูงใจต่อผลการปฎิบัติงานและแรงจูงใจในกิจกรรม |
Other Titles: | Effects of narcissistic personality, feedback, and motivation tactics on performance and intrinsic motivation |
Authors: | ผกาทิพย์ ขันติพงศ์ |
Advisors: | คัคนางค์ มณีศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | kakanang.m@chula.ac.th |
Subjects: | การหลงตนเอง บุคลิกภาพกับการจูงใจ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ศึกษาอิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ผลป้อนกลับ และกลวิธีจูงใจต่อผลการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง 177 คน ถูกสุ่มเข้าสู่เงื่อนไขการทดลอง 8 เงื่อนไข : บุคลิกภาพแบบหลงตนเอง (สูง และ ต่ำ) ผลป้อนกลับ (บวก และ ลบ) และการมุ่งการกำกับ (มุ่งการส่งเสริม และ มุ่งการป้องกัน) ผู้ทดลองขอให้ผู้ร่วมการทดลองทำแบบทดสอบการสลับตัวอักษรภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า 1.ในเงื่อนไขมุ่งการป้องกัน ผู้ที่ได้รับผลป้อนกลับทางบวกมีผลการปฏิบัติงานสูงกว่าผู้ที่ได้รับผลป้อนกลับทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีผลการปฏิบัติงานสูงกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ในเงื่อนไขมุ่งการส่งเสริม ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีผลการปฏิบัติงานสูงกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ผลป้อนกลับทางบวกทำให้มีแรงจูงใจในกิจกรรมสูงกว่าผลป้อนกลับทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | This research examined effects of narcissistic personality, feedback, and motivation tactics on performance and intrinsic motivation. One Hundred and seventy-seven undergraduate students were randomly assigned to one of eight experimental conditions: narcissistic personality (high vs. low), feedback (positive vs. negative), and regulatory focus (promotion vs. prevention). Then they were asked to work on anagram. Results show that: 1.In prevention focus, participants who have received positive feedback perform better than those who have received negative feedback (p < .05). 2.High narcissists perform better than do low narcissists (p < .05). 3.In promotion focus, high narcissists perform better than do low narcissists (p < .05). 4. Positive feedback leads to higher intrinsic motivation than negative feedback (p < .01). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15962 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.266 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.266 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pakatip_kh.pdf | 840.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.