Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16925
Title: วิธีการสำหรับการได้รับแบบจำลองที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มซึ่งอยู่ในรูปของแผนภาพคลาสของยูเอ็มแอลจากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจโดยการสนับสนุนจากขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมและออนโทโลจี
Other Titles: A method for deriving platform-independent class diagrams from business process models with support from genetic algorithms and ontology
Authors: วรารัตน์ รุ่งวรวุฒิ
Advisors: ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: twittie.s@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ยูเอ็มแอล (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ธุรกิจ -- แบบจำลอง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบบจำลองกระบวนการธุรกิจเป็นแบบจำลองที่มักสร้างโดยนักวิเคราะห์ธุรกิจซึ่งมีความคุ้นเคยกับฟังก์ชันธุรกิจเป็นอย่างดี จึงเป็นตัวแทนโดยตรงของความต้องการของผู้ใช้และธุรกิจ และเป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบบจำลองของซอฟต์แวร์ต่อไป งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจในสองลักษณะคือ (1) การแบ่งส่วนแบบจำลองกระบวนการธุรกิจออกเป็นส่วนย่อยที่เรียกว่า ส่วนประกอบกระบวนการธุรกิจ เนื่องจากกระบวนการธุรกิจอาจมีหลายขั้นตอนและซับซ้อน การแบ่งส่วนจะช่วยให้สามารถพิจารณาแต่ละส่วนและจัดการได้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละส่วนยังสามารถนำไปใช้ซ้ำในการสร้างแบบจำลองกระบวนการธุรกิจอื่น ๆ ได้ การแบ่งส่วนทำโดยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมโดยพิจารณาถึงเป้าหมายด้านการจัดการส่วนประกอบด้วย (2) การออกแบบแผนภาพคลาสของยูเอ็มแอลที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มจากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจโดยอิงองค์ความรู้เกี่ยวกับโดเมนธุรกิจ อันประกอบด้วย 4 วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ การวิเคราะห์ออนโทโลจีในโดเมนด้วยเครื่องมือสืบค้นออนโทโลจีที่พัฒนาขึ้น การประยุกต์แพตเทิร์นในโดเมน และการประยุกต์ประสบการณ์ในโดเมน งานวิจัยทั้งสองส่วนได้นำไปประยุกต์กับกรณีศึกษาของแบบจำลองกระบวนการธุรกิจการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง วิธีการของงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบแผนภาพคลาสที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มเมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบที่ไม่มีการแบ่งส่วนแบบจำลองกระบวนการธุรกิจ และที่ใช้วิธีการอื่นในการวิเคราะห์และออกแบบ นอกจากนี้การ ประเมินโดยกลุ่มนักวิเคราะห์ธุรกิจและนักวิเคราะห์/ออกแบบซอฟต์แวร์ได้ผลว่าวิธีการนี้เป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์
Other Abstract: Business process models are created by business analysts who are familiar with business functions and hence project well the requirements of users and businesses, and are useful for software modeling. This research proposes two approaches to utilizing business process models: (1) Partitioning of business process models into business process components will help divide large and complex business process models into smaller and more manageable subprocesses which can also be reused in modeling other business processes. Partitioning is by a genetic algorithm and considers component managerial goals. (2) Design of platform-independent UML class diagrams from business process models, using knowledge in business domains, comprises four methods, i.e. business process model analysis, domain ontology analysis with an ontology search tool, application of domain patterns, and application of domain experiences. The two proposed approaches have been applied to a case study of opening an Internet trading account business process of a securities company. The proposed approaches are advantageous to the design of the PIM-level class diagram compared to the design with no BPM partitioning and with other analysis and design method. The evaluation by a group of business analysts and software analysts/designers has indicated that the approaches are useful and applicable for software development
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16925
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1148
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1148
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wararat_Ru.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.