Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1726
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธนพรรณ สุนทระ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคกลาง) | - |
dc.coverage.spatial | ปทุมธานี | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-12T16:14:22Z | - |
dc.date.available | 2006-08-12T16:14:22Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741318014 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1726 | - |
dc.description.abstract | โครงการ การพัฒนาอุตสาหกรรม ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนริมคลองรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบันของชุมชนริมคลองรังสิต การเปลี่ยนแปลงลักษณะของชุมชนอันเนื่องมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมของชุมชนริมคลองรังสิต ช่วงเวลาที่ใช้เป็นข้อมูลเพื่อทำการศึกษาใช้ระยะเวลาประมาณ 20 ปี ย้อนหลังจากปี 2542 โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่การศึกษาเส้นทางตั้งแต่คลอง 1-คลอง 7 (กิโลเมตรที่ 1-15) รัศมีจากริมคลองรังสิต 500 เมตร จำนวน 15 หมู่บ้านของเทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ ตำบลบึงยี่โถ ตำบาลรังสิต และตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี รวม 200 ครัวเรือน และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการ และผู้นำชุมชนไม่เป็นทางการ ทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 ผลการศึกษา ก่อนปี พ.ศ. 2525 ขาวบ้านเกือบทั้งหมดใช้น้ำคลองกับกิจกรรมในครัวเรือน ปัจจุบันคุณภาพน้ำในคลองคุณภาพต่ำลง แต่มีผู้อาศัยอยู่ริมคลองร้อยละ 52.0 ยังต้องใช้น้ำคลองเพื่อการอุปโภคเพราะไม่มีทางเลือกอื่นจำเป็นต้องใช้น้ำคลอง เนื่องจากน้ำประปา/บาดาลยังมีใช้ไม่ทั่วถึง และบ้านเรือนปลูกติดริมคลองอยู่แล้ว แหล่งน้ำเพื่อการบริโภค ในอดีตสามารถนำมาดื่มกินได้ปัจจุบันส่วนใหญ่ซื้อน้ำดื่ม รองน้ำฝนเก็บไว้ปรุงอาหารในครัวเรือน ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทุ่งรังสิตมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จากการใช้ที่ดินเกือบทั้งทุ่งรังสิตปลูกข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอดีต ต่อมานักลงทุนเริ่มเข้ามาซื้อที่ดินสร้างโรงงานอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร เพราะราคาที่ดินของทุ่งรังสิตไม่แพง การคมนาคมขนส่งสะดวกใกล้กรุงเทพ ใกล้สนามบินดอนเมือง ประชาชนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยทั้งมาซื้อมาเช่า และปลูกที่อยู่อาศัยรุกล้ำคลองรังสิตปรากฏการณ์เช่นนี้ ทำให้สภาพแวดล้อมของทุ่งรังสิตเปลี่ยนแปลงไป พอสรุปได้ดังนี้ 1) ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นร้อยละ 93.5 คือ ปัญหาน้ำเน่าเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรม จากบ้านเรือนที่อยู่ริมคลอง และปัญหาอากาศเป็นพิษ 2) ผลกระทบระดับครัวเรือน หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 89.0 ตอบว่ามีผลกระทบด้านลบ ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพ ไม่มีงานทำ รายได้ลดลงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านเสื่อมโทรมสกปรกไม่น่าอยู่ น้ำคลองเท่าเสียไม่สะอาด การมีอุตสาหกรรมอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ร้อยละ 11.0 ตอบว่าไม่มีผลกระทบครัวเรือนที่ตนเองอาศัยอยู่ การเปลี่ยนอาชีพทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น การทางสะดวกรวดเร็วมีทางเลือกมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากคลองรังสิต ตอบว่าใช้ไม่ได้ แม้ต้องการจะใช้ก็ใช้ไม่ได้ ร้อยละ 55.5 และร้อยละ 20.5 ตอบว่าไม่ใช้ทางอื่นแทน รัฐบาลน่าจะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ ดูแล มีวิธีการกำจัดสิ่งสกปรกออกไป โดยให้คนในชุมชนช่วยกันดูแลอย่างจริงจัง 3) ผลกระทบระดับชุมชน มีการย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น พื้นที่คับแคบลงไม่เหมือนเมื่อก่อน แต่มีผลดีกับการประกอบอาชีพทำให้คนมีงานทำมากขึ้นรายได้ดีขึ้น การเจ็บป่วยไม่รู้สาเหตุว่ามาจากการพัฒนาพื้นที่เป็นอุตสาหกรรมหรือไม่ การคมนาคม มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ใช้ประโยชน์จากคลองเป็นส่วนน้อย (ร้อยละ 11.0) เพราะมีน้ำประปาใช้แล้ว ปัจจุบันวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านริมคลองรังสิตยังมีอยู่ตามเทศกาลไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงนัก ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้วย 4) ผลกระทบต่อคลองรังสิต มีผลกระทบทางลบ ร้อยละ 67.0 เพราะ น้ำเสียไม่ได้บำบัดให้ถูกต้องก่อนปล่อยลงคลอง สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินริมคลอง สร้างห้องน้ำลงไปในคลอง ทำให้น้ำมีสีคล้ำ ส่งกลิ่นเหม็น มีขยะลอยน้ำ ผู้ที่ตอบว่าไม่มีผลกระทบร้อยละ 33.0 เพราะไม่ได้สนใจที่จะใช้ประโยชน์จากคลองรังสิตแล้ว ปัจจุบันหน่วยงานรัฐกำลังเข้ามาดูแลรักษาทำความสะอาดคลองโดยนำเครื่องจักรกลมากำจัดผักตบชวานำไปทำปุ๋ยหมักให้กับเกษตรกร จึงทำให้สภาพของคลองดีมากขึ้น พอจะใช้สัญจรไปมาได้ ใช้น้ำจากคลองรังสิตได้บ้าง ผลสรุปภาพรวมของหัวหน้าครัวเรือนตัวอย่างเกี่ยวกับการค้าขายบริเวณริมคลองรังสิต ตอบว่ามีผลกระทบร้อยละ 92.5 ไม่มีผลกระทบร้อยละ 7.5 ข้อเสนอแนะ มาตรการระยะสั้น 1) จัดให้มี Buffer Zone ริมคลองป้องกันการรุกล้ำที่ดินริมคลอง โครงการชลประทานรังสิตใต้ต้องบังคับใช้กฎหมายกับบ้านบุกรุกที่ดินริมคลองอย่างเคร่งครัด ร่วมกับหน่วยงานอื่นหาที่อยู่ให้ 2) ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากคลอง ขุดลอกคลองให้ลึก กรมประมงนำพันธ์ปลา กุ้ง มาปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ให้คนมีความรู้สึกว่าต้องพึงพาอาศัยน้ำในคลองเพื่อยังชีพ ทำให้พร้อมที่จะดูแลรักษา โดยไม่ต้องให้ใครมาบอก 3) จัดตั้งคณะทำงานด้านการอนุรักษ์คลอง โดยมีทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน มาตรการระยะยาว 1) จัดแบ่งพื้นที่ในแต่ละประเภทให้ชัดเจน พื้นที่อุตสาหกรรม ต้องมี Buffer Zone กั้นไม่ให้ชุมชนรุกล้ำเข้ามาอยู่ใกล้พื้นที่ที่จัดไว้เพื่ออุตสาหกรรม จัดพื้นที่อยู่อาศัย และมีพื้นที่สีเขียว นอกจากทำให้การใช้ที่ดินเป็นไปอย่างเหมาะสมและถูกต้องแล้วยังทำให้มีภูมิทัศน์ที่ดี 2) ควรให้ภาครัฐ เอกชน ประชาชน มีส่วนร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของคลอง ผูกสัมพันธ์กับลำน้ำสายนี้ ควรทำอย่างสม่ำเสมอและระยะยาว | en |
dc.description.abstractalternative | The Objectives of the Industrial Development: Impacts on way of life of communities along Klong Rangsit Program is to study the existing environment of the community living along Klong Rangsit and the changing of the community's way of life caused by the industrial development. The study covered previous data of 20 years ago, from year 1999 backward. Meanwhile the study area started from Klong 1 to Klong 7 (kilometer 1-15), approximately 500 meters around Klong Rangsit. As a result, the study area covered 15 Moo Ban (villages) or 200 households of Prachathipat district, Bung Yi Tho district, Rangsit district and Phakgood district in Amphur Thanyaburi. The in-depth interview was done both formally and informally with the community leaders while data collection has been conducted during year 2001 to 2002. Study Result Before year 1982, most of the people around the study area used water from Klong Rangsri for consuming and other activities in their household. Howadays, although the water quality has been being degraded, 52 percentage of the people living along the klong still can not avoid employing water from Klong Rangsit. There is no other choice for them since the water supply or ground water system has not been installed throughout the area yet. However, most of the people buy fresh water or keep rain water for drinking and cooking because the water from the klong is not clean enough for consuming. The impact on the community's way of life In the past, almost every inch of Rangsit district was occupied by the paddy field became the rice used to be the most important export goods of the community. Up to now, the utilization of the land has been being changed continuously since the investor entered the district and purchased various volume of land to build factories and real estate due to the low-priced land and the convenience of transportation which is nearby Bangkok and Don Muang air port. The migrants from outsider, even occupied the land by lending or buying, constructed their houses or constructions intruding into Klong Rangsit and changed the surrounding and environment of the area around Klong Rangsit as following description : 1) The impact on environment At present, the environmental problem was increased 93.5%. Among these problems are water pollution and air pollution from industries or houses standing beside the klong. 2) The impact on household 89% of the household leaders answered the questionnaire that there is some negative impact upon their occupation and environment. They faced the problems of unemployment, changing job, income decreasing and the degenerate of environment around their households such as waste and water pollution. Besides, the health of people who lived nearby factories might be deteriorated. Only 11.0% of the respondents reported that there is no impact on their living. Moreover, the changing of job increased their income and the convenient transportation provided more choice of traveling for them. Considering the utilization of Klong Rangsit for transportation, 55.5% informedthat they could not use the Klong even desire to, while 20.5% said that they never used it because there are other ways of transportation. Anyway, to solve the environmental problem, the community recommended that the government should perform their role by giving consults, providing suggestion of cleaning methods or technology to the community and encouraging people to look after their community seriously. 3) Impact on community It was found from the study that the migration is increased and caused the high density of population when comparing to the existing area. Consider to the problem of health deterioration of people in the project area, it could not clearly identify that the industrial development caused those health problems. In contrary, there are some positive impacts on the community, the unemployment decreased while the earning increased. Furthermore, the transportation is more convenient. In the mean time the utilization of klong is minimizing since there is water supply and other ways of transportation. Nowadays, the local tradition, activities and ancient custom is still be conserved and performed by the community living along Khlong Rangsit on occasion. 4) Impact on Kong Rangsit Totally 67% of the respondents indicated that there are some negative impacts on Kong Rangsit. The water can not be used because the waste water has not been actually treated before emitting to the klong. Moreover, the houses and other constructions, especially the rest rooms which were built intruding to the klong have produced the waste and bad smell and caused the polluted water. The rest of the respondents (33%) reported that there is no impact on Klong Rangsit since the klong has not been used as former time. At present, the water of Klong Rangsit is getting better and can be used for transportation and some household activities since the government agency has employed the machine to clean the klong. The water plants called mimosa were picked up and made fertilizer for the farmers. In addition, 92.5% of the household leaders responded that the commercial along Klong Rangsit has an impact upon the klong while 7.5% responded there is no impact. Recommendations Short-term measurement 1) Arranging a buffer zone along the klong to protect the intruders. In addition, the Southern Klong Rangsit Irrigation Project should seriously take the law to compel the intruders to move out of the buffer zone and meanwhile collaborate with government agencies to find some new places for those people. 2) Employing the public participation method to encourage the feeling of the community that they have to depend on the klong in their way of live and use it in the correct way in order to sustain the natural resource. The community should be urged to participate in any activities concerning the klong utilization, for example excavating the klong for the Department of Fishery to lay the breed of fishes and shrimps into it and let them naturally grow up. The community then understands the important of the klong in their way of life and help tosustain it. 3) Appointing a working group which included the government official, representatives from private agencies and representatives from the community to conserve the klong. Long-term measurement 1) Classifying the land utilization and clearly divided each zone. The buffer zone is needed in order to protect the intruders into the industrial area. The land classification not only makes the appropriate land utilization but also presents a good view of landscape. 2) Stimulate the subconscious of the community to realize the importance of the klong and their relationship with this water resource by usually arranging activities among the people in the community, the government and private agencies continuously. | en |
dc.format.extent | 20410604 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การพัฒนาอุตสาหกรรม--ไทย--ปทุมธานี | en |
dc.subject | ชุมชนคลองรังสิต (ปทุมธานี) | en |
dc.subject | คลองรังสิต | en |
dc.title | การพัฒนาอุตสาหกรรม : ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนริมคลองรังสิต : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Industrial development : impacts on way of life of communities along Klong Rungsit | en |
dc.type | Technical Report | en |
Appears in Collections: | Env - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanapan(Ind).pdf | 17.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.