Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17927
Title: สภาพการและความต้องการการใช้สื่อการสอน ของครูโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
Other Titles: Status and needs in utilizing instructional media of teachers in the leading curriculum implementation schools at secondary education level
Authors: วัลลภ ภู่โชติ
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอนด้วยสื่อ
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการและความต้องการการใช้สื่อการสอนของครูโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรในระดับชั้นมัธยมศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการของสื่อการสอนในโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่สังกัดกรมสามัญศึกษาซึ่งมีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูในหมวดวิชาต่างๆ ของโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตการศึกษาต่างๆ ทั้ง 13 เขต ทั่วประเทศโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งเป็นพวก ประมาณ 50% เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 157 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1. โรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นบุคลากรและสถานที่ทำงานด้านสื่อการสอนโดยเฉพาะ ในขณะที่โรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และที่สังกัด สช. ส่วนใหญ่ไม่มี สำหรับโรงเรียนผู้นำฯ ที่มีบุคลากรทำงานด้านนี้โดยเฉพาะส่วนใหญ่มีเพียง 1 คน และไม่ได้ศึกษาจบมาทางด้านสื่อการสอนโดยตรง หน่วยงานที่ทำงานด้านสื่อการสอนโดยเฉพาะของโรงเรียนผู้นำฯ ส่วนใหญ่ใช้ชื่อ “โสตทัศนศึกษา” 2. โรงเรียนผู้นำฯ ส่วนใหญ่นอกจากที่สังกัด สช. มีการจัดสรรงบประมาณด้านสื่อการสอนโดยเฉพาะซึ่งได้งบประมาณมาจากเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนมากที่สุด ครูประจำวิชาเป็นผู้จัดหาสื่อการสอนเป็นส่วนใหญ่ และมีการใช้บ้างเป็นบางครั้ง ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชามากที่สุด ส่วนครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางและที่สังกัด สช. เลือกใช้สื่อการสอนที่ตรงกับจุดมุ่งหมายของเรื่องที่สอนมากที่สุด 3. ในการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่ และขนาดเล็กส่วนมากจะให้นักเรียนช่วย ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางส่วนใหญ่ช่วยตัวเองทั้งหมดและส่วนใหญ่ของครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. มีทั้งใช้ด้วยตัวเองทั้งหมดและให้นักเรียนช่วย ก่อนการใช้สื่อครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัดกรมสามัญศึกษาทั้ง 3 ขนาด จะมีการวางแผนการใช้ล่วงหน้าเป็นอันดับแรก และครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. จะมีการเตรียมตัววัสดุอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ก่อนเป็นอันดับแรก ขณะที่ใช้สื่อครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและที่สังกัด สช. จะไม่สนใจเฉพาะตัวสื่อแต่จะสนใจนักเรียนด้วยเป็นอันดับแรก ส่วนครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดเล็กจะใช้สื่อตามที่วางแผนไว้ ภายหลังการใช้สื่อส่วนมากครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่ ขนาดเล็กและที่สังกัด สช. จะใช้คำถามสั้นๆ วัดความเข้าใจของนักเรียนเป็นอันดับแรก ส่วนโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางจะอธิบายความคิดรวมยอดให้นักเรียนเป็นอันดับแรก 4. สื่อการสอนที่ใช้อยู่เป็นประจำของครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่และขนาดเล็กคือกระดานชอล์ค ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางใช้ตำราเรียน ส่วนครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. ใช้กระดานชอล์คและตำราเรียน สำหรับเหตุผลในการใช้สื่อการสอนของครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่คือคิดว่าสื่อช่วยให้การสอนสมบูรณ์ขึ้นเป็นอันดับแรก ส่วนเหตุผลของครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลาง ขนาดเล็กและที่สังกัด สช. คือสื่อการสอนช่วยให้อธิบายได้ง่ายและสะดวกขึ้นเป็นอันดับแรก 5. ความต้องการการบริการ ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่ต้องการมีศูนย์สื่อการสอนโดยเฉพาะมากที่สุด ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางและขนาดเล็กต้องการมีวัสดุอุปกรณ์สำหรับผลิตสื่ออย่างสมบูรณ์มากที่สุด ครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. ต้องการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการผลิตสื่อการสอนมากที่สุด 6. ความต้องการการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุ ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่ต้องการใช้หนังสืออ่านประกอบมากที่สุด ครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางต้องการใช้หนังสือแบบเรียนมากที่สุดครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดเล็กต้องการใช้หนังสืออ่านประกอบและภาพถ่าย ครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. ต้องการใช้หนังสืออ่านประกอบและหนังสือแบบเรียนมากที่สุด สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ครูโรงเรียนผู้นำทั้งหมดส่วนใหญ่ต้องการใช้เครื่องอัดสำเนา (โรเนียว) มากที่สุดและครูโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. ยังต้องการใช้เครื่องขยายเสียงมากที่สุดอีกด้วย สำหรับสื่อการสอนประเภทวิธีการที่ต้องการใช้มากที่สุดของครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่คือการค้นคว้าจากห้องสมุด ของครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางคือการสาธิต ของครูโรงเรียนผู้นำขนาดเล็กและที่สังกัด สช. คือการทดลอง 7. ปัญหาการใช้สื่อการสอนของโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดใหญ่และที่สังกัด สช. ส่วนมากคือมีเวลาในชั่วโมงที่ใช้สื่อน้อยเกินไป ของครูโรงเรียนผู้นำฯ ขนาดกลางคือไม่มีเวลาที่จะประเมินผลการใช้ และของโรงเรียนผู้นำฯ ที่สังกัด สช. คือทั้งมีเวลาในชั่วโมงที่ใช้สื่อน้อยเกินไปและไม่มีเวลาที่จะประเมินผลการใช้ ข้อเสนอแนะ 1. โรงเรียนผู้นำฯ ควรได้รับการสนับสนุนด้านสื่อการสอนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะโรงเรียนผู้นำฯ ต้องมีเอกลักษณ์พิเศษที่จะเป็นตัวอย่างกับโรงเรียนอื่นๆ จึงควรมีสภาพการทางสื่อการสอนที่สมบูรณ์หรือค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่าโรงเรียนโดยทั่วไป 2.ควรมีการจัดอบรมเพิ่มเติมความรู้และวิทยาการใหม่ๆ ด้านสื่อการสอนแก่ครูผู้สอนในโรงเรียนผู้นำฯ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 3. ควรมีการกระตุ้นให้ครูผู้สอนโรงเรียนผู้นำฯ ได้มีการผลิตและใช้สื่อการสอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและเป็นตัวอย่างกับโรงเรียนอื่น 4.โรงเรียนผู้นำฯ ควรจะมีเจ้าหน้าที่ที่ศึกษามาทางด้านสื่อการสอนโดยตรงและมีจำนวนเป็นสัดส่วนกับจำนวนนักเรียนเป็นผู้ดำเนินงานด้านนี้ในโรงเรียนโดยไม่ต้องมีชั่วโมงสอน 5. กลุ่มโรงเรียนของแต่ละจังหวัดควรมีบทบาทในการจัดตั้งศูนย์สื่อการสอนของจังหวัดทำหน้าที่รวบรวมและผลิตสื่อการสอนไว้บริการ 6. ควรมีหน่วยงานของรัฐ เช่นกรมวิชาการหรือศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาผลิตสื่อการสอนที่ตรงตามเนื้อหาวิชาในหลักสูตรไว้บริการหรือจำหน่ายในราคาถูก
Other Abstract: Purposes : 1. To study the status and needs in utilizing instructional media of teachers in the leading curriculum implementation schools at secondary education level. 2. To compare the status of instructional media among the government leading curriculum implementation schools at secondary education level of large schools, medium schools, small schools and the non-limited size private schools. Procedure : Research questionnaires were developed to collect data for this study. The sample was teachers from the leading curriculum implementation schools at secondary education level who were selected by stratified random sampling at the size of fifty percents of population. One hundred fifty-seven was the total number of sampling. Finally the collected data were statistically analyzed in terms of percentages and arithmetic means. Results 1. Most of large leading curriculum implementation schools provided offices to operate the instructional media project, mean while most of medium, small and private schools did not. Most instructors who operate the instructional media project were not specialized in instructional media. Most instructional media service offices were called "Audio-Visual Education Section." 2. Most of large leading curriculum implementation schools except private schools were provided certain sum of budget for instructional media needs. The largest amount comes from the school educational fees. Most instructors prepare instructional media for their subject and occasionally utilized them. The instructors of large and small leading curriculum implementation schools utilized the media that were the most appropriate for the content and most teachers in medium schools and private schools utilized the media that were the most appropriate for the objective of the lesson. 3. In utilizing the media, most instructors in large and small leading curriculum implementation schools get their students' help. Most instructors in medium schools utilized them by themselves and the instructors in private schools sometimes worked with their students. Before utilizing the media, the instructors in large, medium and small schools would plan how to utilizing the media first, mean while the instructors in private schools prepare the media. While utilizing the media, the large, medium and private schools instructors paid attention to not only the media but their students as well. The instructors in small schools utilized the media as they had planned. Having instructed, most of the instructors in large, small and private schools asked the students short questions to evaluate the understanding, but the instructors in medium schools came first to the conclusion. 4. The instructional' media utilized regulary in large and small schools were chalkboards but in medium schools, the instructors utilized textbooks and the instructors in private schools utilized both textbooks and chalkboards. The reason for utilizing the media of the instructors in large schools was that the media made teaching complete, but the reason of the instructors in medium, small and private schools was that the media made teaching easier and more convenient. 5. The service the instructors in large school needed was instructional media center, the instructors in medium and small schools needed complete materials for producing instructional media and the instructors in private schools needed the discussion about meeting how to produce the media. 6. The needs of utilizing instructional media, the instructors needed books for external reading, the instructors in medium schools needed textbooks, the instructors in small schools needed textbooks and photographs, tut the instructors in private schools needed textbooks and books for external reading. The media such as equipment, duplicator was the most needed and the instructors in private schools needed amplifiers the most. The media as technique that the instructors in large schools needed was to study in the library, the instructors in medium schools needed demonstration and the instructors in small schools and private schools needed experimentation. 7. The problems of utilizing the instructional media of the instructors in large schools and private schools were that there was a lack of time given to the problems of teaching, of the instructors in medium schools was that there was a lack of time given to the problems of evaluation and of the instructors in private schools was a lack of time given to the problems of both teaching and evaluation. Suggestions : 1. The leading curriculum implementation schools at secondary education level need more supports from the government in order to be examples of utilizing the instructional media. 2. Should provide inservice-training in instructional media for teachers in the leading curriculum implementation schools at secondary education level. 3. The instructors should be encouraged to produce and utilize the instructional media in order to increase the teaching efficiency. 4. Leading curriculum implementation schools need more media specialist which are in the proportion to the number of the students. 5. Each group of provincial schools should be active and also take an important role in establishing the instructional media center, 6. The government agencies such as the Technical Department or the Educational Technology Center should provide the instructional media needed for schools at reasonable price.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17927
ISBN: 9745642142
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallop_Po_front.pdf395.63 kBAdobe PDFView/Open
Wallop_Po_ch1.pdf301.38 kBAdobe PDFView/Open
Wallop_Po_ch2.pdf493.84 kBAdobe PDFView/Open
Wallop_Po_ch3.pdf243.29 kBAdobe PDFView/Open
Wallop_Po_ch4.pdf837.87 kBAdobe PDFView/Open
Wallop_Po_ch5.pdf626.58 kBAdobe PDFView/Open
Wallop_Po_back.pdf624.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.