Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18561
Title: อิทธิพลของการประเมินแก่นแท้ของตนเองต่อความพึงพอใจในการทำงาน โดยมีความเครียดในการทำงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ
Other Titles: The Influence of core self-evaluation on job satisfaction : the mediating role of job stress and job burnout
Authors: อมร หวังพีระวงศ์
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Penpilai.R@chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: การประเมินตนเอง
ความพอใจในการทำงาน
ความเครียดในการทำงาน
ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
พนักงานธนาคาร
Self-evaluation
Job satisfaction
Job stress
Burn out ‪(Psychology)‬
Bank employees
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความตรงของมาตรวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเอง ระหว่างมาตรวัดแบบ 4 มิติ และมาตรวัดแบบเอกมิติ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงาน โดยมีการประเมินแก่นแท้ของตนเองเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรสื่อความเครียดในการทำงาน และความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงาน ระหว่างโมเดลที่ใช้มาตรวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ และมาตรวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบเอกมิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานระดับปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ 6 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 677 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) ตัวแปรภายนอกแฝงการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ และแบบเอกมิติ 2) ตัวแปรภายในแฝงความเครียดในการทำงาน 3) ตัวแปรภายในแฝงความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน 4) ตัวแปรภายในแฝงความพึงพอใจในการทำงาน โดยตัวแปรดังกล่าววัดจากตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้น 11 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นมาตรวัดประมาณค่า มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตั้งแต่ .90-.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลริสเรล ซึ่งผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลมาตรวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเอง ระหว่างมาตรวัดแบบ 4 มิติ และแบบเอกมิติ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งสองโมเดล นอกจากนี้ผลการเปรียบเทียบโมเดลทั้งสอง พบว่า โมเดลทั้งสองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงาน ที่ใช้มาตรวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ และแบบเอกมิติมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งสองโมเดล 3) ผลการทดสอบการเปรียบเทียบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงาน ระหว่างโมเดลที่ใช้มาตรวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ และแบบเอกมิติ พบว่า โมเดลทั้งสองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this study were 1) To compare the validity of core self-evaluation scales between four dimensional scale and unidimensional scale 2) To develop and validate the causal models of job satisfaction. The models were hypothesized to have a direct effect from core self-evaluation to job satisfaction, and an indirect effect via job stress and job burnout which mediated between core self-evaluation and job satisfaction. 3) To compare the model validation between the two causal models of job satisfaction that measured from 2 different core self-evaluation scales. The research sample consisted of 677 operating staff members of 6 commercial banks in Bangkok. The variables consisted of four latent variables: core self-evaluation, job stress, job burnout and job satisfaction. These latent variables were measured by 11 observed variables. Data were collected by likert scale questionnaires, the reliability ranged from .90-.96. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, confirmatory factor analysis and LISREL analysis. The major findings are as follows: 1) The validity of the four dimensional and unidimensional scales of core self-evaluation fits the empirical data. Furthermore, the comparison of the two scales shows no difference in their goodness of fit test. 2) The two causal models of job satisfaction are also fit well to the empirical data. 3) The comparison of the causal models of job satisfaction reveals that there is no difference in their goodness of fit test.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18561
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.505
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.505
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amorn_wa.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.