Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18906
Title: การเปรียบเทียบความสามารถทางกายของชายไทยที่มีอายุต่างกัน
Other Titles: A comparison of physical performance of Thai men with different ages
Authors: วิบูลย์ ชลานันต์
Advisors: อวย เกตุสิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สมรรถภาพทางกาย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของชายไทยที่มีอายุต่างกัน ระหว่างกลุ่มอายุ 11-13 ปี 25-30 ปี และ 40-45 ปี กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนิสิต นักศึกษาวิทยาลัยครูเทพสตรี วิทยาลัยครูเพชรบุรีพิทยาลงกรณ์ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีความสมบูรณ์ทางกายดี แบ่งออกตามกลุ่มอายุเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทากงาย 8 รายการ คือ ยืนกระโดดไกล ดึงข้อ ห้อยตัวแขนตึง ไนน์สแคร์วเทสต์ ก้าวขึ้นลงจากม้าแบบฮาร์วาร์ด วิ่งเร็ว 50 เมตร งอตัวไปข้างหน้า และแรงบีบมือ แต่ละรายการทำการทดสอบซ้ำคนละ 3 ครั้ง และหาค่าเฉลี่ย นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สมรรถภาพทางกายโดยทั่วไปของชายไทยที่มีอายุ 25-30 ปี ดีที่สุด 2. สมรรถภาพทางกายโดยทั่วไปของชายไทยที่มีอายุ 11-13 ปี และ 40-45 ปี ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ความแรง (Strength) ทั้งกลุ่มอายุ 11-13 ปี 25-30 ปี และ 40-45 ปี ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4. ความอดทน (Endurance) กลุ่มอายุ 11-13 ปี ดีกว่า กลุ่มอายุ 40-45 ปี ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 5. พลัง (Power) ของกลุ่มอายุ 40-45 ปี สูงกว่ากลุ่มอายุ 11-13 ปี ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 6. ความว่องไว (Agility) ของกลุ่มอายุ 11-13 ปี ดีกว่ากลุ่มอายุ 40-45 ปี ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 7. ความว่องไว (Agility) ของกลุ่มอายุ 11-13 ปี และ 25-30 ปี ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to compare physical performance among Thai males of different age groups: 11-13 years, 25-30 years and 40-45 years. The subjects were 90 male students from two teachers’ colleges: Petchbutipittayalongkorn and Tepsatri; and from Kasetsart Universtiy Laboratory School. The subjects were divided into 3 groups of 30 each. The method used was the battery of physical fitness test comprising 8 categories; Standing broad jump, Pull-up, Stretched-arm hang, Nine-square test, Harvard Step test, 50 m. Sprint, Body Flexibility and Hand Grip. The Statistical design employed was one-way analysis of variance in which the significant differences among groups were determined. The results of the study may be summarized as follows: 1. General physical performance of Thai males in the age group 25-30 was the best. 2. General physical performance of Thai males in the age groups 11-13 and 40-45 was not significantly different at .05 level. 3. The strength of Thai males in the age groups 11-13, 25-30 and 40-45 was not significantly different at .05 level. 4. The endurance of Thai males in the age group 11-13 was better than the age group 40-45 with significant difference at .01 level. 5. The power of Thai males in the age group 40-45 was higher than those of age group 11-13 with significant difference at .01 level. 6. The agility of Thai males in the age group 11-13 was better than those of age group 40-45 with significant difference at .01 level. 7. The agility of Thai males in the age groups 11-13 and 25-30 was not significantly different at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18906
ISBN: 9745610216
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vibool_Ja_front.pdf470.75 kBAdobe PDFView/Open
Vibool_Ja_ch1.pdf608.41 kBAdobe PDFView/Open
Vibool_Ja_ch2.pdf736.44 kBAdobe PDFView/Open
Vibool_Ja_ch3.pdf333.65 kBAdobe PDFView/Open
Vibool_Ja_ch4.pdf578.03 kBAdobe PDFView/Open
Vibool_Ja_ch5.pdf509.17 kBAdobe PDFView/Open
Vibool_Ja_back.pdf950.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.