Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18958
Title: การบริหารงานการฝึกอบรม : ศึกษาเฉพาะกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย
Other Titles: Training management : a case study of the Bank of Thailand
Authors: วรรณวดี ฤทธารมย์
Advisors: เกศินี หงสนันทน์
กริช อัมโภชน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ธนาคารแห่งประเทศไทย -- การฝึกอบรม
การฝึกอบรม
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันองค์การทั้งหลายต่างก็เร่งรัดให้มีการพัฒนาการบริหารงานและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การพัฒนาดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญ องค์การที่ฉลาดและรอบคอบจึงพยายามสะสมพนักงานผู้มีสมรรถภาพในการทำงานสูงไว้ในองค์การของตนให้มาก และพยายามลดจำนวนพนักงานผู้มีสมรรถภาพต่ำให้เหลือน้อยที่สุด ส่วนสาเหตุที่ทำให้พนักงานมีสมรรถภาพในการทำงานต่ำนั้นอาจมีอยู่หลายประการ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ การขาดความรู้ ทักษะ และทัศนคติอันเหมาะสมในการทำงานและสิ่งที่จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานดังกล่าวทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอาจทำได้หลายทางเช่นกันคือ การให้การศึกษาเพิ่มเติม การฝึกอบรม และการพัฒนาตนเอง แต่ในขณะที่พนักงานปฏิบัติงานอยู่ประจำวัน องค์การควรให้ความสำคัญและจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงาน เพราะการฝึกอบรมมีความหมายถึง การเสริมสร้างและพัฒนาความคิดเห็น การกระทำ ความรู้ ความสามารถ ทั้งนี้เพื่อยกมาตรฐานการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นทางไปสู่ความสำเร็จในจุดมุ่งหมายของทั้งองค์การและตัวพนักงานผู้ปฏิบัติงานด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาถึง หลักการ ปรัชญาและกระบวนการการบริหารงานฝึกอบรม ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะทำให้พนักงานผู้ผ่านการฝึกอบรม ทั้งทางด้านการบริหารงานและการปฏิบัติงาน เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะและทัศนคติอันเหมาะสมอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ดีเพียงใดด้วยวิธีการวิจัยแบบค้นคว้าและการวิจัยสนาม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การจัดการฝึกอบรมพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยตรงต่อความต้องการขององค์การและความจำเป็นของพนักงาน แต่อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากการวิจัยสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถามมีบางสิ่งที่แสดงว่า ผู้ผ่านการฝึกอบรมต่างก็มีความกระตือรือร้นในการทำงานในระยะแรกหลังจากผ่านการฝึกอบรมแล้วเท่านั้น แต่ต่อไปสภาพการณ์ดังกล่าวก็กลับสู่สภาพเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การฝึกอบรมแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถช่วยพัฒนาและก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและความชำนาญที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานได้ตลอดไป ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ศูนย์ฝึกอบรม ธนาคารแห่งประเทศไทย ควรให้มีการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง และเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ภายในองค์การอย่างมีแบบแผน ด้วยการเริ่มให้ความรู้ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการเริ่มปูพื้นฐานที่จะนำเอาวิธีการพัฒนาองค์การมาปรับใช้ในธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: Presently all the organizations try to speed up their development of effective management and performance in order to reach aimed objectives. As is generally accepted whether such development will succeed or not depends on the human as the important factor. Prudent organizations try to keep highly productive employees and reduce less productive employees. There are many causes of less productive employees. The main ones are being lack of knowledge and skill, and wrong attitude towards the job. Ways to help to improve such weak points now and in the future can be obtained in different ways : 1. Formal Education 2. Training 3. Self-Development. While the employees are working, the organization must recognize the importance of training and try to introduce training schemes to the employees. Since the training means development and improvement of opinions, activities, knowledge and skills as well as to increase the standard of performance, it will help reach the goals set by the organization and their employees. This thesis studies about the principle, philosophy and process of the management training of the Bank of Thailand by method of documentary and field research. In order to help its employees they receive training in both management and performance to gain knowledge, understanding, skill and suitable attitudes useful in their work. The conclusion is that training management of the Bank of Thailand is a necessity and need of the organization and employees. However, the data of field research showed that the trainees were enthusiastic after completing training, but later lost their enthusiasm. We can see that only training can’t help develop long-run performance of the employees. The writer suggests that the Training Center of the Bank of Thailand have a follow-up and continuous training program and patternaly begin changing and developing its system through teaching Behavioral Science dealing with the fundamental knowledge of Organization Development and introducing it in the Bank of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18958
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanvadee_Ri_front.pdf346.29 kBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_ch1.pdf372.55 kBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_ch2.pdf582.52 kBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_ch4.pdf642.74 kBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_ch5.pdf766.29 kBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_ch6.pdf613.46 kBAdobe PDFView/Open
Vanvadee_Ri_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.