Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19826
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไชยยศ เหมะรัชตะ | - |
dc.contributor.author | เกรียงชัย จันทร์เวชเกษม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-21T22:36:00Z | - |
dc.date.available | 2012-05-21T22:36:00Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19826 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาประเทศรัฐบาลของประเทสต่าง ๆ จึงพยายามหาทางแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศด้วย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหายาเสพติด เพราะประชาชนชาวไทยติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก การมีกฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดที่ดี เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ปัญหายาเสพติด ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกคนในการแก้ปัญหายาเสพติดล้วนแต่ต้องกระทำการภายในขอบข่ายของบทบัญญัติแห่งกฏหมายทั้งสิ้น ประเทศไทยเริ่มมีมาตรการทางกฏหมายในการควบคุมฝิ่น ซึ่งเป็นยาเสพติดชนิดแรกที่เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 1903 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีมารการทางกฏหมายในการควบคุมยาเสพติดเรื่อยมา หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการปราบปรามยาเสพติดที่สำคัญในอดีต คือคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ ในปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติดที่สำคัญมากได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมตำรวจและกรมศุลลากร เมื่อมีผู้กระทำผิดตามกฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ตำรวจมีหน้าที่จับกุมตัวผู้กระทำผิดและทำการสอบสวน พนักงานอัยการมีหน้าที่ฟ้องร้องผู้กระทำผิดต่อศาลเมื่อศาลพิจารณาพิพากษาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายราชทัณฑ์ที่จะทำการควบคุมผู้ต้องขังพร้อมกับดำเนินการอบรมแก้ไขฟื้นฟูจิตใจให้ผู้ต้องขังกลับตนเป็นพลเมืองดี ในปัจจุบันรัฐบาลมีมาตรการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ 4 ประการคือ 1.การป้องกัน หมายถึงการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนทราบถึงโทษของยาเสพติด จะได้หลีกเลี่ยงไม่เสพยานั้น 2.การปราบปราม หมายถึงการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับกฏหมายยาเสพติด เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฏหมายโดยกระบวนการยุติธรรม 3.การบำบัดรักษา หมายถึง การทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้หายจากอาการติดยานั้น และทำการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพด้วย 4.การส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน หมายถึงการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชทดแทน เพื่อให้ประชาชนเลิกปลูกยาเสพติด การแก้ปัญหายาเสพติดให้ได้ผลนั้น จะต้องดำเนินมาตรการทุกอย่างพร้อม ๆ กันไป จะกระทำมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงประการเดียวมิได้ กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างได้ผล เพราะไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดรายใหญ่ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัยของปัญหามาลงโทษตามกฏหมายได้ เนื่องจากขาดพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์การกระทำของเขาว่าเป็นความผิด เพราะผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมักดำเนินงานในรูปขององค์การอาชญากรรม กล่าวคือมีผู้ร่วมงานหลายคน และมีแผนการสลับซับซ้อนดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางในการปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดของไทยยโดยอาศัยหลัก conspiracy Law ซึ่งมีหลักอยู่ว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกันเพื่อที่จะกระทำการอันมิชอบด้วยกฏหมาย หรือตกลงกันที่จะกระทำการอันชอบด้วยกฏหมาย แต่ด้วยวิธีการอันมิชอบด้วยกฏหมาย ก็มีความผิดแล้ว ซึ่งจะสามารถนำตัวผู้กระทำผิดรายใหญ่ดังกล่าวมาลงโทษได้ นอกจากนั้น ควรเพิ่มอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และขยายขอบเขตการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดที่ได่เข็ดหลาบ เพื่อให้การแก้ปัญหายาเสพติดดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางการปรับปรุงกฏหมายดังกล่าว อาจเป็นที่มาของกฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศชาติ | - |
dc.description.abstractalternative | The problem of narcotics is a tremendous obstacle against the development of various countries. To curb them, each country uses its own preventive measures. Besides, through the international agencies the countries concerned should work together in order to remedy this problem. The instruments of society to protect itself from the harm of narcotics is by resorting to legal measures and the responsibilities of the enforcers have to be also with ‘n the scope of law. For the first Thai narcotics legal control, it was formulated in B.E. 1903 when Ayudhaya was Thai capital city. Recently the former concerning office was the Central Bureau of Narctics. And at present the Office of Narcotics Control Board (N.C.B.) has been set up to take charge of the functions of narcotics control. More over the roles of Criminal Justice System are also used for the drug addictions. The present government measures for narcotics problem are based on four principles, they are: I.Prevention II.Suppression III.Rehabilitation IV.Promotionn of crop replacement It is obvious that the legal measures of Thai narcotics control are not adequate because the process of drug-convicts is Criminal Organizations, so the suggestion for this purpose is to use Conspiracy Law in solving this problem and also by increasing the power of Narcotics Control Commissions for the narcotics-convicts. | - |
dc.format.extent | 553071 bytes | - |
dc.format.extent | 405901 bytes | - |
dc.format.extent | 896479 bytes | - |
dc.format.extent | 4957323 bytes | - |
dc.format.extent | 1802454 bytes | - |
dc.format.extent | 2176995 bytes | - |
dc.format.extent | 1035403 bytes | - |
dc.format.extent | 1131314 bytes | - |
dc.format.extent | 407745 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กฎหมายยาเสพติด | en |
dc.subject | ยาเสพติด | en |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | en |
dc.title.alternative | Legal measures for the preventi on and suppression of harmful harit forming drugs | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chaiyos.H@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kriengchai_Ch_front.pdf | 540.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch1.pdf | 396.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch2.pdf | 875.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch3.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch4.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch5.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch6.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_ch7.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kriengchai_Ch_back.pdf | 398.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.