Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19973
Title: การศึกษาพฤติกรรมในระดับห้องปฏิบัติการและจำลองลักษณะการชะละลายและการเคลื่อนที่ของไนเตรทในระบบชั้นน้ำใต้ดินอิ่มตัว
Other Titles: Laboratory-scaled investigations and numerical modeling of nitrate leaching and transport characteristics in saturated aquifer systems
Authors: รัชพล พิพิธสมบัติ
Advisors: อักษรา พฤทธิวิทยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำใต้ดิน -- ปริมาณไนเตรต
ไนเตรต
ดิน -- ปริมาณไนเตรต
Nitrates
Groundwater -- Nitrate content
Soils -- Nitrate content
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไนเตรทที่เกิดจากธรรมชาติ และกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นสาเหตุที่ทำให้ดิน และน้ำใต้ดินเกิดการปนเปื้อน เมื่อนำน้ำที่มีการปนเปื้อนมาอุปโภค และบริโภคทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คือพิษของ ไนเตรททำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Methemoglobinemia หรือ Blue-Baby-Syndrome อาการของโรคนี้เกิดเมื่อระดับของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำ ทำให้ไม่สามารถที่จะรับเอาออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ ความรุนแรงของไนเตรททำให้เกิดการปนเปื้อนในดินและชั้นน้ำใต้ดินในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถูกพบว่ามีการใช้ปุ๋ยในปริมาณมากเกินความจำเป็น วิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นสำรวจวิจัยและศึกษาการปนเปื้อนของไนเตรทในดินและชั้นน้ำใต้ดินแบบไม่อิ่มตัวที่มีศักยภาพในการถูกชะละลายและก่อให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำใต้ดินในพื้นที่ศึกษา การศึกษาได้เก็บตัวอย่างตัวกลางรูพรุนจากพื้นที่ศึกษาจำนวน 14 ตัวอย่างและจำแนกชุดดินออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าไนเตรทในระดับห้องปฏิบัติการ โดยใช้แบบจำลองแบบคอลัมน์ ผลการทดลองพบว่าไนเตรทสามารถถูกชะล้างออกมาจากตัวกลางรูพรุนมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ พฤติกรรมการดูดซับของไนเตรทจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ กับตัวกลางรูพรุนที่นำมาทดลอง ทำให้เกิดลักษณะของ เทลลิ่งเอฟเฟค มีลักษณะหางที่ยาวเป็นผลกระทบของแบ๊คดิฟฟิวชั่น ข้อมูลจากแบบจำลองกายภาพจะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในแบบจำลองคณิตศาสตร์ MODFLOW และ MT3D
Other Abstract: Nitrate, from both natural and human activities, is a common soil and groundwater contaminant. The immediate health effect is methemoglobinemia (Blue-Baby-Syndrome) in which the reduction of nitrate in the digestive tract by nitrate-reducing bacteria and nitrite combines with the hemoglobin that carries oxygen forming methemoglobin which cannot carry oxygen. Severe nitrate enrichment in soil and shallow groundwater aquifers in Suphanburi was discovered owing to the intensive farming with excess fertilization. This research emphasizes to explore and study contaminated of nitrate in soil and unsaturated groundwater aquifers that has latency in leached and contaminated in groundwater in study area. The possibility of nitrate leachate and transport into soil water in 14 samples representing 3 porous media groups from the study area (mainly near agricultural fields) was analyzed for NO3- -N and examined by laboratory-scaled column transport experiments. The results indicted that significant amounts of NO3- (> 90%) could be leached. Pore exclusion was also observed based on the early nitrate breakthrough. Gradual sorption behavior of nitrate was experienced in all soil samples tested, resulting in the maximum normalized nitrate concentration of less than unity. Even longer tailing effects were observed, especially in soil samples S3 and S8, suggesting a significant back diffusion of nitrate into pore water. The observed data were used in MODFLOW and MT3D model.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19973
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratchapon_pi.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.