Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20363
Title: ผลของการใช้เทคนิคการทบทวนความรู้เดิมแบบต่างๆ ที่มีต่อความพึงพอใจการมีสวนร่วมในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of using techniques of prior knowledge activated on satisfaction, learning participation and science learning achivement of the lower secondary school students
Authors: จารุวรรณ พูพะเนียด
Advisors: พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pimpan.d@chula.ac.th
Subjects: ทฤษฎีสรรคนิยม
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการใช้เทคนิคการทบทวนความรู้เดิมแบบต่างๆ ที่มีต่อความพึงพอใจ การมีส่วนร่วมในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแหลมบัววิทยา จังหวัดนครปฐม จำนวน 38 คน ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการทบทวนความรู้เดิม 3 วิธี คือ 1) การสืบค้นจากบุคคล 2) การนำเสนอความรู้ด้วยผังกราฟฟิก และ 3) การทำสติกเกอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ 2) แบบบันทึก การสังเกตการมีส่วนร่วมในการเรียนและ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 ชุด มีค่า ความยากง่ายระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.89 มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.783-0.889 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนพึงพอใจเทคนิคการทบทวนความรู้เดิม ด้วยวิธีการสติกเกอร์มากที่สุด รองลงมาคือ วิธีการสืบค้นจากบุคคล และวิธีการนำเสนอความรู้ด้วยผังกราฟฟิกน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.11, 89.47 และ 65.78 ตามลำดับ 2. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนด้านสังคมมากที่สุดเมื่อเรียน ด้วยวิธีการสืบค้นจากบุคคล มีส่วนร่วมด้านสติปัญญาเมื่อเรียนด้วยวิธีการนำเสนอความรู้ด้วยกราฟฟิก และมีส่วนร่วมในด้านอารมณ์เป็นส่วนใหญ่เมื่อเรียน ด้วยวิธีการทำสติกเกอร์ 3. นักเรียนร้อยละ 100 ที่เรียนด้วยการใช้เทคนิคการทบทวนความรู้เดิมแต่ละแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์
Other Abstract: To study effects of using different techniques of prior knowledge activated on satisfaction, learning participation and science learning achievement of the lower secondary school students. The samples were a group of 38 mathayom suksa one students from Lambuawittaya school in Nakornpathom province, learning by using three techniques of prior knowledge activated; people search, presenting knowledge in graphic organizers form and bumper stickers. The research instruments were the questionnaires, the interview form on satisfaction, observation form on the learning participation and the sets of 18 science learning achievement tests. The difficulties level of the 18 sets of science learning achievement tests were range from 0.20 to 0.80, the discrimination power were range from 0.20-0.89 and the reliability were range from 0.783-0.889. The data collected were analyzed by mean of percentage, arithmetic mean and content analysis. The research findings were as follows: 1. Students were satisfied with techniques of prior knowledge activated bumper stickers most, then people search and lastly presenting knowledge in graphic organizers form as 92.11%, 89.47% and 65.78% respectively. 2. Students learned most in social participation through people search, in intellectual participation through presenting knowledge in graphic organizers form, and in emotional participation through bumper stickers. 3. The one hundred percent of students learned by using each techniques of prior knowledge activated has science learning achievement scores higher than the criterion scores
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20363
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.429
ISBN: 9743343784
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.429
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charuwan_pu.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.