Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20374
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช | - |
dc.contributor.author | ชุติมา ก๋งทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-16T05:10:20Z | - |
dc.date.available | 2012-06-16T05:10:20Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20374 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่มีลักษณะนิสัยครอบงำและยอมตามต่อความชอบพอ ความสบายใจ การรับรู้ความสามารถและการคุกคามของผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำและยอมตาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 160 คน เป็นเพศชาย 40 คน และเพศหญิง 120 คน ถูกจำแนกว่ามีลักษณะนิสัยครอบงำหรือยอมตาม โดยใช้มาตรวัดลักษณะนิสัยครอบงำและ ยอมตามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวคิดของ Moskowitz (1994) และ Mehrabian และ Hines (1978) แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลอง เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งในสี่เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขที่ 1 บุคคลที่มีลักษณะนิสัยครอบงำทำงานคู่กับหน้าม้าที่มีพฤติกรรมครอบงำ เงื่อนไขที่ 2 บุคคลที่มีลักษณะนิสัยครอบงำทำงานคู่กับ หน้าม้าที่มีพฤติกรรมยอมตาม เงื่อนไขที่ 3 บุคคลที่มีลักษณะนิสัยยอมตามทำงานคู่กับหน้าม้าที่มีพฤติกรรมครอบงำ เงื่อนไขที่ 4 บุคคลที่มีลักษณะนิสัยยอมตามทำงานคู่กับหน้าม้าที่มีพฤติกรรมยอมตาม โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองทำงานบรรยายภาพร่วมกับหน้าม้าที่มีพฤติกรรมครอบงำหรือยอมตามในห้องปฏิบัติการ และประเมินความชอบพอ ความสบายใจ การรับรู้ความสามารถและการคุกคามที่มีต่อหน้าม้าที่ได้ทำงานร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคคลที่มีลักษณะนิสัยครอบงำชอบพอผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมยอมตามมากกว่าผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำอย่างมีนัยสำคัญ (p < .001) 2. บุคคลที่มีลักษณะนิสัยยอมตามชอบพอผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมยอมตามมากกว่าผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) 3. บุคคลที่มีลักษณะนิสัยครอบงำเมื่อทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมยอมตามมีความ สบายใจมากกว่าเมื่อทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำอย่างมีนัยสำคัญ (p < .001) 4. บุคคลที่มีลักษณะนิสัยยอมตามเมื่อทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำมีความ สบายใจมากกว่าเมื่อทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมยอมตามอย่างมีนัยสำคัญ (p < .05) 5. ผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำได้รับประเมินว่ามีความสามารถมากกว่าผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมยอมตามอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) 6. ผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมครอบงำได้รับการประเมินว่ามีการคุกคามมากกว่าผู้ร่วมงานที่มีพฤติกรรมยอมตามอย่างมีนัยสำคัญ (p < .001) | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the role of personality differences in liking, comfort, perceived competence, and threat of the counterpart. One hundred and sixty undergraduate students, 40 males and 120 females were classified by using the The trait dominance-submissiveness scale developed by the researcher. The scale was based on the conceptual framework of Moskowitz (1994) and Mehrabian & Hines (1978) as either dominant or submissive traits. Then they were randomly assigned to one of the four experimental conditions: dominant trait vs. dominant behavior confederate, dominant trait vs. submissive behavior confederate, submissive trait vs. dominant behavior confederate, and submissive trait vs. submissive behavior confederate. Participants were asked to complete a picture description task with the dominant or submissive behavior confederate and to identify liking, comfort, perceived competence, and threat of the confederate. The results are as follows: 1. Dominant individuals like counterparts with more submissive behavior than dominant behavior (p < .001). 2. Submissive individuals like counterparts with more submissive behavior than dominant behavior (p < .01). 3. Dominant individuals feel comfortable with counterparts with more submissive behavior than dominant behavior (p < .001). 4. Submissive individuals feel comfortable with counterparts with more dominant behavior than submissive behavior (p < .05). 5. Dominant counterparts are perceived as more competent than submissive counterparts (p < .01). 6. Dominant counterparts are perceived as having more threat than submissive counterparts (p < .001). | en |
dc.format.extent | 1219369 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1419 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พฤติกรรมตามกัน | en |
dc.subject | พฤติกรรมครอบงำ | en |
dc.title | ผลของการเติมเต็มและความคล้ายคลึงในพฤติกรรมครอบงำและยอมตามต่อความชอบพอ ความสบายใจ การรับรู้ความสามารถและการคุกคาม | en |
dc.title.alternative | Effects of complementarity and similarity in dominant and submissive behaviors on liking, comfort, perceived competence and threat | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาสังคม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Apitchaya.C@Chula.ac.th, weechaya@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1419 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chutima_ko.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.