Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20888
Title: การเปรียบเทียบความจำของนักเรียนในการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากภาพการ์ตูนที่มีพื้นหลังภาพต่างกัน
Other Titles: A comparison of students' recall on learning English vocabularies from cartoons of different backgrounds
Authors: เบญจลักษณ์ ธนะพาณิชย์
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: การ์ตูน
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การจำ (จิตวิทยา)
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบความจำของนักเรียนในการเรียนคำศัพท์ภาษอังกฤษจากภาพการ์ตูนที่มีพื้นหลังภาพต่างกันคือ ภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลังภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังเกี่ยวกับภาพ และภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังไม่เกี่ยวกับภาพ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คัดเลือกมาจากนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 615 คนของโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ นครราชสีมา โดยทำการทดสอบพื้นความรู้ภาษาอังกฤษก่อนแล้วคัดเลือกนักเรียนกลุ่มที่มีระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับเดียวกันได้จำนวน 454 คน นำมาสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ให้ได้ตัวอย่างประชากรจำนวน 120 คนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 40 คน ดังนี้คือ กลุ่มที่หนึ่งทดสองสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลัง กลุ่มที่สอง ทดลองสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังเกี่ยวกับภาพ และกลุ่มที่สาม ทดลองสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังไม่เกี่ยวกับภาพ เมื่อเรียนจบแล้ว มีการทดสอบความจำหลังการเรียนแล้วนำคะแนนของนักเรียนแต่ละกลุ่มมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความจำของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anlysis of Variance) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความจำทีละคู่ด้วยวิธี HSD ของตรูกี (Tukey) ผลของการวิจัยปรากฏว่า วิธีการสอนทั้ง 3 วิธีให้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลจากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทีละคู่ปรากฏว่า กลุ่มของนักเรียนที่เรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลังสามรถจำได้ดีที่สุด ส่วนกลุ่มที่เรียนด้วยภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังเกี่ยวกับภาพ และกลุ่มที่เรียนด้วยภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังไม่เกี่ยวกับภาพนั้น ผลของการทดสอบความจำไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose was comparing the students' recall on learning English Vocabularies from cartoons of different backgrounds : cartoons with no background, cartoon with backgrounds related and unrelated to the pictures. The subjects were 120 students with the same level of English knowledge selected by Simple random sampling from 4S4 students of Mathayomsuksa I, Boonluavittayanusorn school, Nakornrajasima. The subjects were devided into three groups. Each group consisted of 40 students. The first was taught by the cartoons with no background, the second was taught by the cartoons with backgrounds related to the pictures, The third was taught by the cartoons with backgrounds unrelated to the pictures. After having been taught by using cartoons with different backgrounds to the three groups, the students took the test. Compare the students' recall of each group by using One-Way Analysis of Variance, then compare the pair of means of each group by using HSD of Tukey. The result was that the students' recall taught by three methods were statistically different at the .05 level. The group taught by the cartoons with no background had the best recall. But the others wore not statistically different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20888
ISBN: 9745641057
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benchaluck_Th_front.pdf337.79 kBAdobe PDFView/Open
Benchaluck_Th_ch1.pdf311.9 kBAdobe PDFView/Open
Benchaluck_Th_ch2.pdf486.19 kBAdobe PDFView/Open
Benchaluck_Th_ch3.pdf291.29 kBAdobe PDFView/Open
Benchaluck_Th_ch4.pdf240.4 kBAdobe PDFView/Open
Benchaluck_Th_ch5.pdf345.04 kBAdobe PDFView/Open
Benchaluck_Th_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.