Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21617
Title: โอกาสการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ของผู้ที่สำเร็จมัธยมศึกษาจากส่วนภูมิภาค
Other Titles: Access to universities education of provincial secondary school graduates
Authors: ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล
Advisors: ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาต่อ
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาถึงโอกาสการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของผู้สำเร็จมัธยมศึกษาจากส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง เปรียบเทียบกับโอกาสที่ควรได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลจากตัวอย่างประชากรที่สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2517 และสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2518 จำนวน 884 คน ทำการวิเคราะห์หาโอกาสการสอบคัดเลือกผ่านมีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย และโอกาสที่ควรได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างโอกาสดังกล่าวด้วยค่าไคสแควร์ หาร้อยละของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย จำแนกตามภาคที่สำเร็จการศึกษา ภูมิลำเนา เพศ และอาชีพบิดามารดา ผลการวิจัยปรากฏว่า โอกาสสอบคัดเลือกได้ของผู้สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 5 จากส่วนภูมิภาค (.252 และ .181) ต่ำกว่าโอกาสที่ควรได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย (.309) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และต่ำกว่าโอกาสสอบคัดเลือกได้ของผู้สำเร็จมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 และปีที่ 5 จากส่วนกลาง (.372 และ .371) โดยเฉพาะผู้สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (.167) มัธยมศึกษาปีที่ 5 จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (.093) ภาคตะวันออก (.091) และภาคตะวันตก (.114) โอกาสสอบคัดเลือกได้ของผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในส่วนภูมิภาค (.263) ต่ำกว่าโอกาสที่ควรได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และต่ำกว่าโอกาสสอบคัดเลือกได้ของผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในส่วนกลาง (.380) โอกาสสอบคัดเลือกได้ของผู้ที่มีเพศและอาชีพบิดามารดาต่างกัน แตกต่างจากโอกาสที่ควรได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย อย่างไม่มีนัยสำคัญ สำหรับจำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 5 จากส่วนกลาง (ร้อยละ 57.1 และ 81.1) มีภูมิลำเนาอยู่ในส่วนกลาง (ร้อยละ 48.4) และมีบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 52.0) มีเพียงส่วนน้อยที่สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 3.7) มัธยมศึกษาปีที่ 5 จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง (ร้อยละ 1.5 เท่ากัน) มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง (ร้อยละ 5.5 เท่ากัน) และมีบิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 7.7) ส่วนเพศชายและเพศหญิงมีจำนวนร้อยละ 49.8 และ 50.2 ตามลำดับ ข้อค้นพบเหล่านี้นำไปสู้ข้อสรุปที่ว่า โอกาสการสอบคัดเลือกผ่านมีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย แปรตามภาคที่สำเร็จการศึกษาและภูมิลำเนา จำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย แปรตามภาคที่สำเร็จการศึกษาภูมิลำเนา และอาชีพบิดามารดา
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the probability of getting an access to universities. The data were collected from 884 high school graduates of 1914 classes who took the entrance exam in the following year. The probability of passing the entrance exam was examined by using practical and theoretical models. The significance of differences was determined by X² - test. Percentage distribution of university entrants classified by secondary school location, domicile, sex and parental occupation was used for profile analysis. The findings indicated that : The probability of passing the entrance exam of the M.X.3 and M.S.5 graduates from the regional areas (.252 and .181) was significantly (P < .01) lower than the expected (.309) and was also lower than the probability of those from Bangkok Metropolitan (.372 and .371), especially the M.S. 3 graduates from the North-East (.167) and M.S. 5 graduates from the North-East (.093), the East (.091) and the West (.114). The probability of passing the entrance exam of those who lived in the regional area (.263) was significantly (P< .05) lower than the expected and also lower than the probability of those who lived in Bangkok Metropolitan (.380). Sex and parental occupations did not significantly differ with regard to the expected probability. The majority of university entrants were those who completed M.S. 3 and M.S. 5 education from Bangkok Metropolitan ( 57.1 % and 81.1 %), lived in Bangkok Metropolitan (48.4%) and had parents who were in commerce (52.0 %). The minority of university entrants were those who completed M.S. 3 education from the North-East (3.7 %) and M.S. 5 education from the North-East (1.5%) and the Central (1.5%), lived in the North-East (5.5%) and the Central (5.5 %) and had parents who were in agriculture (7.7 %). With regard to sex, 49.8 % were male and 50.2 % were female. It was concluded that the probability of passing the entrance examination varied according to school locations and domicile. The number of university entrants varied according to school locations, domiciles and parental occupations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21617
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriphen_Su_front.pdf899.3 kBAdobe PDFView/Open
Sriphen_Su_ch1.pdf591.09 kBAdobe PDFView/Open
Sriphen_Su_ch2.pdf844.57 kBAdobe PDFView/Open
Sriphen_Su_ch3.pdf324.92 kBAdobe PDFView/Open
Sriphen_Su_ch4.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Sriphen_Su_ch5.pdf653.12 kBAdobe PDFView/Open
Sriphen_Su_back.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.