Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21874
Title: ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงและภาวะความเปลี่ยนแปลงในบุคคลภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม
Other Titles: Effects of Buddhist personal growth and counseling group with photo-elicitation on PAÑÑĀ in interconnectedness and change among persons with post breast cancer treatment
Authors: ศุลีพร ปรมาภูติ
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Nattasuda.T@Chula.ac.th
Subjects: เต้านม -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษา แนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงและภาวะความเปลี่ยนแปลง รูปแบบที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยกึ่งทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง แบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลภายหลังการรักษามะเร็งเต้านมที่เสร็จสิ้นการรักษามะเร็งเต้านมแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จำนวน 30 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีสมาชิก 7-8 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมรวม 18 ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ติดต่อกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนปัญญาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธด้วยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนปัญญาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research study was to examine the effects of Buddhist personal growth and counseling group on PAÑÑĀ in interconnectedness and change among persons with post breast cancer treatment. A quasi-experimental with pretest-posttest control group design was employed. Participants, 30 females with post breast cancer treatment (all had completed a treatment for breast cancer for at least 6 months) were assigned into experimental groups and control groups, with 7-8 participants in each group. Participants in the experimental groups attended a Buddhist personal growth and counseling group for 6 sessions in 3 consecutive days (18 hours in total). Prior to and after the group attendance, they responded to the PAÑÑĀ Scale. t–test was then used for data analysis. Findings were as follows: 1. The posttest score on PAÑÑĀ Scale of the experimental group was significantly higher than the pretest score (p<.01). 2. The posttest score on PAÑÑĀ Scale of the experimental group was significantly higher than the posttest score of the control group (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21874
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.510
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.510
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suleeporn_pa.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.