Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21970
Title: การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณด้วยแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Development of critical problem solving skills by using concept mapping for eighth grade students
Authors: สุภัทรา ตันติวิทยมาศ
Advisors: วีรพล แสงปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Weeraphol.S@Chula.ac.th
Subjects: การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาในวัยรุ่น
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะ การแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์ในระยะก่อนและหลังการทดลอง 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณระหว่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์ในระยะหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 60 คนที่กำลังศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัด สมุทรปราการ โดยได้รับการสุ่มออกเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์ที่ประกอบด้วยกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีข้อคำถามจำนวน 30 ข้อ ครอบคลุมตัวชี้วัด 5 ด้าน โดยมีการทดสอบ จำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติทดสอบที (T-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.ระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ระยะหลังการทดลอง กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกใช้แผนผังมโนทัศน์มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study effects of concept mapping program on critical problem solving skill for eight grade students 2) to compare the level of the critical problem solving skill of an experimental group before and after the program implementation 3) to compare the level of the critical problem solving skill between control and experimental group after the program implementation. Participants included 60 upper elementary students in Mathayomdansomrong School who enrolled during the second semester of the academic years 2011. The participants were randomly assigned to an experimental group and control group with 30 students in each group. Research instruments were concept mapping program consisted of 12 activities, and a critical problem solving skill test consisted of 30 items in 5 components pretest and posttest. Descriptive statistics and t-test were employed for data analysis. The results were as follows: 1. Critical problem solving skill posttest score of students in experimental group were higher than control group at the .05 level of significance. 2. Critical problem solving skill posttest score of students in experimental group were higher than the pretest score at the .05 level of significance. 3. Critical problem solving skill posttest score of students in control group did not yield at significance level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21970
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.530
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.530
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supathra_ta.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.