Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22965
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ | - |
dc.contributor.author | นิตยา โกศลกาญจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-30T17:44:42Z | - |
dc.date.available | 2012-10-30T17:44:42Z | - |
dc.date.issued | 2524 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22965 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | ชุมชนเมืองสงขลาจัดได้ว่าเป็นชุมชนที่มีความสำคัญของจังหวัดสงขลาและภาคใต้ในอนาคตบทบาทของเมืองอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 ได้กำหนดจะพัฒนาให้ชุมชนเมืองสงขลาเป็นเมืองหลักของภาคใต้ และมีโครงการต่างๆสนับสนุนนโยบายนี้ ซึ่งจะมีผลต่อชุมทชนเมืองสงขลาทั้งทางตรงและทางอ้อม จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องจากการมีโครงการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ที่มีผลต่อสภาพการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยในชุมชนเมืองสงขลา โดยได้พิจารณาบทบาทและความสำคัญของเมืองสงขลาในระดับจังหวัด วิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของชุมชนเมืองสงขลา ทั้งภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และการใช้ที่ดิน พร้อมทั้งคาดคะเนแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและเสนอแนะแนวทางสำหรับการขยายตัวของเมืองต่อไป สำหรับผลของการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ ความสำคัญของชุมชนเมืองสงขลาที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดสงขลาและภาคใต้ โดยส่วนรวมนั้น นอกเหนือจากเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การศึกษาและเมืองท่าส่งสินค้าออกแล้ว สภาพภูมิประเทศของเมืองยังมีทิวทัศน์ที่งดงาม มีโบราณสถานที่เก่าแก่และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีส่วนดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนไม่น้อย อัตราการเพิ่มประชากรของชุมชนเมืองสงขลา ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา นับว่าอยู่ในอัตราสูงสุดของจังหวัด โดยมีการเพิ่มตามธรรมชาติมากกว่าการย้ายถิ่น ทั้งนี้นอกจากปัจจัยดึงดูดดังกล่าวแล้ว บริการทางสาธารณสุขของชุมชนเมืองสงขลาก็อยู่ในระดับมาตรฐาน อาชีพหลักของประชากรในบริเวณนี้คือ เป็นข้าราชการซึ่งเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นบ่อยที่สุด สภาพการใช้ที่ดินของเมือง มีลักษณะเกาะกลุ่มกันหนาแน่น บริเวณริมฝั่งทะเลสาบสงขลา โดยมีบริเวณพักอาศัยเป็นบริเวณที่มีการใช้พื้นที่มากที่สุด และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่มากที่สุดเช่นกัน การมีโครงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆในอนาคตจะมีผลกระทบต่อชุมชนเมืองสงขลา ในลักษณะการเพิ่มของประชากรวัยแรงงาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การค้าและการบริการ และมีผลกระทบต่อการใช้ที่ดินโดยตรงคือ บริเวณพักอาศัยจะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าเดิม สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของเมืองในอนาคตจะขยายไปตามเส้นทางสายสงขลา-หาดใหญ่มากขึ้น เนื่องจากมีความได้เปรียบของพื้นที่มากกว่าเส้นทางสายสงขลา-จะนะ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาทางกายภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องเสนอให้มีการควบคุมการใช้ที่ดินของเมืองอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์เดิม คือเป็นเมืองพักอาศัย เมืองศูนย์กลางการบริการการปกครองและการศึกษาของจังหวัดและภาค | - |
dc.description.abstractalternative | Songkhla urban aria generally plays an important role in Changwat Songkhla and the South. According to the 4th. National Economic and Social Development Plan which has chosen Songkhla as one of the Growth Poles of the South. Thus, many projects have to be conducted for supporting this policy and would be directly and indirectly effected to Songkhla urban area. The objective of this Thesis is to study the impact of economic and social change on Songkhla urban area cause by the above developing projects. This study would also consider the important role of Songkhla urban area at the regional level; analyzing the present socio-economic characteristic and land use of Songkhla urban area. The prospected tends and the recommendation on the, urban expansion are also pointed out in this thesis. The conclusion of this study has been summarized as follow : The important role of Songkhla urban area on the socio-economic of Changwat Songkhla and the South is not only the governmental adminis¬tration center; education center and the port city, but also the geographical scenery; the ancient and historical places of the city are beautiful and attractive to the, tourists. During the past 12 years, the increasing rate of population has been on the top of Changwat Songkhla which the birth rate is more than the migration. Besides all those factors mentioned above, the public health service of the urban area is also on the standard. The main occupation of the people is governmental official. The existing land use is clustered densely along Songkhla lake. Most of the area are occupied by the residential area which has been changed mostly. The developing projects in the future will be effected to Songkhla urban area in the increasing of working people; the expansion of industry, trade and services and the residential area would be rapidly expanded. The tendency of city expansion in the future would be more along Songkhla - Hat-Yai road because of the better advantage. Nevertheless, for the protection of urban physical problems in the future, the proper land use control has to be recommended. | - |
dc.format.extent | 712285 bytes | - |
dc.format.extent | 410700 bytes | - |
dc.format.extent | 561406 bytes | - |
dc.format.extent | 3208450 bytes | - |
dc.format.extent | 3790732 bytes | - |
dc.format.extent | 1594071 bytes | - |
dc.format.extent | 1322123 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการใช้ที่ดิน เพื่ออยู่อาศัยบริเวณเมืองสงขลา | en |
dc.title.alternative | The impact of economic and social change on Songkhla residential area | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nitaya_Ko_front.pdf | 695.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ko_ch1.pdf | 401.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ko_ch2.pdf | 548.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ko_ch3.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ko_ch4.pdf | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ko_ch5.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ko_back.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.