Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23864
Title: วงเงินเบี้ยประกันที่พึงใจจ่ายในการทำประกันสุขภาพของข้าราชการและลูกจ้างประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Health insurance premium Chulalongkorn University staff willing to pay
Authors: เอกลักษณ์ อินทุวรรณรัตน์
Advisors: วัฒนา สุวรรณแสง จั่นเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และปัญหาประสิทธิภาพของระบบ ประกอบกับการเตรียมความพร้อมในการปฏิรูประบบราชการได้มีการเสนอให้มีการนำระบบสวัสดิการสาธารณะที่มีอยู่แล้วทั่วไปมาใช้แทนสวัสดิการรักษาพยาบาลที่เป็นอยู่ โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งและมหาวิทยาลัยจ่ายให้อีกส่วนหนึ่ง การศึกษาในเรื่องวงเงินเบี้ยประกันที่พึงใจจ่ายในการทำประกันสุขภาพของข้าราชการและลูกจ้างประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงค่าเบี้ยประกันสุขภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ข้าราชการและลูกจ้างประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามถึงค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรเต็มใจที่จะจ่าย เมื่อบุคลากรมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 60 โดยศึกษาเฉพาะบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อายุไม่เกิน 50 ปี ทั้งที่เป็นโสดและสมรสแล้ว แต่คู่สมรสต้องไม่ประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ ยกเว้นคู่สมรสที่รับราชการในหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม (พ.ศ. 2544) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ และปัจจัยที่กำหนดค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรเต็มใจที่จะจ่ายด้วยแบบจำลองโทบิต (Tobit Model) โดยมีจำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์เท่ากับ 823 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรเต็มใจที่จะจ่ายด้วยแบบจำลองโทบิตพบว่า ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบุคลากรที่มีอายุไม่เกิน 50 ปีเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 594 บาทต่อเดือน โดยบุคลากรในสายงานอาจารย์มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 708 บาทต่อเดือน ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรสายงานข้าราชการสาย ข. และ ค. เต็มใจที่จ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 602 บาทต่อเดือน และค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรสายงานลูกจ้างประจำเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 492 บาทต่อเดือน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบุคลากรที่มีอายุไม่เกิน 50 ปีเต็มใจที่จะจ่าย ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องการให้ครอบคลุมจากการทำประกัน ความต้องการในการทำประกันชีวิต และวงเงินผลประโยชน์สูงสุดที่ต้องการทำสำหรับกรณีผู้ป่วยใน โดยมีความสัมพันธ์กับค่าเบี้ยประกันสุขภาพในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น เพศ อายุ ไม่มีอิทธิพลต่อค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่บุคลากรเต็มใจที่จะจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: Due to the high cost and low efficiency of the current medical care system of the public sector and the establishment of public corporatization, the new public health care system in which the university personnel pay a part medical cost while the university pays the rest has been proposed. Thus, this leads to the study on willingness of Chulalongkorn University staff to pay for health insurance premium. The objectives of this study are as follows: (1) to study the health insurance premium; and (2) to study the factors influencing Chulalongkorn University staff ‘s willingness to pay for health insurance premium. A study was conducted by interviewing Chulalongkorn University staff about the health insurance premium that they are willing to pay if they receive a 60 percent increase in salary during June-October 2001. Both single and married staff with age less than 50 years old are interviewed. As for the married, their spouse must not be government officials, excepts for the spouse who works for Chulalongkorn Univerisity. The total sample of the study was 823. The finding from the Tobit Model shows that the willingness of Chulalongkorn University staff to pay for health insurance premium is on average 594 Baht per month. The willingness to pay of instructors, academics staff, and administrative staff are on average 708 Bath per month, 602 Baht per month, and 492 Baht per month, respectively. Factors affecting willingness to pay for health insurance premium are educational level, family monthly total income, number of family member, and the highest benefit for in-patient, All of this factors have statistically significant effect on health insurance premium. The other factors i.e. gender and age do have statistically significant effect on health insurance premium.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23864
ISBN: 9741705719
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eakalak_in_front.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Eakalak_in_ch1.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Eakalak_in_ch2.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open
Eakalak_in_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Eakalak_in_ch4.pdf14.93 MBAdobe PDFView/Open
Eakalak_in_ch5.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Eakalak_in_back.pdf8.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.