Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25263
Title: บทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง "สำนวนไทย" สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: A Progarammed Lesson on "Thai Ididoms" for lower secondary schools
Authors: รัตนา วิชญาณรัตน์
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “สำนวนไทย”สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามมาตรฐาน 90/90 (The 90/90 standard) วิธีดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาและสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “สำนวนไทย “ 2. สร้างแบบทดสอบเพื่อใช้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนก่อนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม 3. นำบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 90 ตัวแรกคือค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละของข้อสอบที่นักเรียนทำได้หลังจากเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม 90 ตัวหลังคือค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละของจำนวนคำตอบที่นักเรียนตอบถูกจากบทเรียนแบบโปรแกรม 4. ทดลองใช้บทเรียนแบบโปรแกรมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 , 2 และ3 ทำการทดลองตามลำดับขั้นดังนี้ 4.1 ทดลองขั้นที่ 1 ต่อ 1 กับนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา 1 คน 4.2 ทดลองขั้นกลุ่มเล็ก กับนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา 10 คน 4.3 ทดลองขั้นภาคสนาม กับนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา 100 คน ผลการวิจัย ประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “สำนวนไทย” ที่สร้างขึ้นได้ค่า 96.36/99.60 สูงกว่ามาตรฐาน 90/90 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า บทเรียนที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ เนื่องจากบทเรียนแบบโปรแกรมสามารถใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นในวิชาอื่น ๆ ต่อไป เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอน และเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
Other Abstract: Purpose The purpose of this study was to construct a programmed Lesson “Thai Idioms” for Lower Secondary Schools and to investigate the effectiveness of a Programmed Lesson based on the 90/90 standard. 1. Studying and constructing the Programmed Lesson entitled “Thai Idioms” 2. Constructing the pre–and post–test in order to assess the students’ knowledge . 3. Finding the efficiency the Programmed Lesson by the 90/90 standard. The former 90 meant the average score the students were able to make from the post – test. The latter 90 meant the average score the students were able to make from the Programmed Lesson. 4. The samples used in this study were students of Mathayom Suksa One, Two and Three. The three steps in the experiment were: 4.1 One to one testing with one student of Chitralada School. 4.2 Small Group testing with 10 students of Chitralada School. 4.3 Field testing with 100 students of Chitralada School. Results: The efficiency of the Programmed Lesson “Thai Idioms” obtained by the result was 96.36/99.60, which was higher than the 90/90 standard. Hence it could be concluded that this Programmed Lesson could be used efficiently. Recommendation since the Programmed Lesson was proved to be effective, it should be encouraged. More effective programmed Lessons in other subjects are needed to improve the teaching and learning process. Programmed Lessons will be able to solve to some extent the shortage of school teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25263
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Wi_front.pdf475.27 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Wi_ch1.pdf722.71 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Wi_ch2.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Wi_ch3.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Wi_ch4.pdf559.58 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Wi_ch5.pdf432.84 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Wi_back.pdf755.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.