Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25486
Title: การศึกษาการยอมรับรายการโทรทัศน์เพื่อพัฒนาสุขภาพ ของสมาชิกรายการโทรทัศน์ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
Other Titles: A study on health development television programs' acceptance of television program's members Center of Education Technology
Authors: บุญทิวา นาคะตะ
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการยอมรับรายการโทรทัศน์เพื่อพัฒนาสุขภาพของสมาชิกรายการโทรทัศน์ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาในหมวดต่าง ๆ คือการรู้จักโรคและป้องกันโรค การรู้จักปฏิบัติตนเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย การบริหารร่างกาย และการรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการเพื่อผลทางด้านร่างกาย และจิตใจ ในลักษณะแตกต่างกันทางเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ สมมติฐาน การยอมรับรายการโทรทัศน์เพื่อพัฒนาสุขภาพในแต่ละหมวด มีความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยจัดส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่สมาชิกรายการโทรทัศน์ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครทางไปรษณีย์ หลังจากได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา ได้นำมาหาความถี่และคิดเป็นร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างเพศ ด้วยค่าที (t-Test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ด้วยค่าเอฟ (F-Test) และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงใช้วิธีทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffé) ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การยอมรับรายการโทรทัศน์ หมวดการรู้จักโรคและป้องกันโรค พบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของอายุ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 (F=3.998) โดยมีความแตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มอายุ 10-15 ปี กับกลุ่มอายุ 36-40 ปี ส่วนในเรื่องของเพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่มีความแตกต่างกัน 2. การยอมรับรายการโทรทัศน์หมวดการรู้จักปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วย พบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของอายุ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 (F=3.027) โดยมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอายุ 21-25 ปี กับกลุ่มอายุ 36-40 ปี และระหว่างกลุ่มอายุ 26-30 ปี กับกลุ่มอายุ 36-40 ปี ส่วนในเรื่องของเพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่มีความแตกต่างกัน 3. การยอมรับรายการโทรทัศน์ หมวดการบริหารร่างกาย พบว่ามีความแตกต่างระหว่างการศึกษาระดับอนุปริญญา กับระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนในเรื่องของ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ไม่มีความแตกต่างกัน 4. การยอมรับรายการโทรทัศน์ หมวดการรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ พบว่า 4.1 ในเรื่องของเพศ มีความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิงที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 (t= -2.17) 4.2 ในเรื่องอายุ พบว่ามีความแตกต่างระหว่าง กลุ่มอายุ 16-20 ปี กับกลุ่มอายุ 36-40 ปี และระหว่างกลุ่มอายุ 26-30 ปี และกลุ่มอายุ 36-40 ปี ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 (F=2.844) 4.3 ในเรื่องของการศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างการศึกษาระดับอนุปริญญา กับระดับสูงกว่าปริญญาตรีที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 (F=3.968) 4.4 ในเรื่องของรายได้ พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มรายได้ 1001 – 2000 บาท กับกลุ่มผู้มีรายได้ 2001 – 3000 บาทต่อเดือน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 (F= 2.855) ส่วนในเรื่องของอาชีพพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: Purposes: To study on the acceptance of the television health programs for physical and mental development of the television program’s members, Center of Educational Technology. The study is categorized into 4 aspects: (1) Knowledge on diseases and how to prevent oneself from contamination. (2) What the respondents usually do when get sick. (3) How to exercise. (4) How to eat properly. The variables are compared between sexes, among age groups, educational levels, carreers and incomes. Hypothesis: There are differences in acceptance between sexes, among age groups, educational levels, carreers and incomes. Procedures: The study is a servey research done through the mailing questionnaires sent to the members in Bangkok area. The replied questionnaires are statistically analyzed through percentage. The hypothesis is tested by method of analysis of variance. The differences between sexes are tested by t-test and the differences among age groups, educational levels, carreers and incomes are tested by F-test. Finally, The Scheffé Method is used to find the significant differences which are found by the F-test. Results: The results can be summarized as follows: (1) Concerning the knowledge on diseases and how to prevent oneself from contamination, there is difference of acceptance between the age group of 10-15 years and the age group of 36-40 years. The F value at the .05 level of significance is 3.998. At this level there are no differences between sexes, among educational levels, carreers and incomes. (2) On the aspect of what the respondents usually do when get sick, there is difference of acceptance between the age group of 21-25 years and the age group of 36-40 years. The other is between the age group of 26-30 years and the age group of 36-40 years. The F value at the .05 level of significance is 3.027. At this level there are no differences between sexes, among educational levels, careers and incomes. (3) On the aspect of exercising there is difference of acceptance between the diploma level and the above Bachelor Degree. The F value at the .05 level of significance is 3.228. At this level there are no difference between sexes, among age groups, carreers and incomes. (4) On the aspect of how to eat properly, the differences at the .05 level of significance are follows: 4.1 Between sexes. The t value is -2.17. 4.2 Between the age group of 16-20 years and the age group of 36-40 years. The other is between the age group of 26-30 years and the age group of 36-40 years. The F value is 2.844. 4.3 Between the diploma level and the above Bachelor Degree. The F value is 3.968. 4.4 Between incomes of 1001-2000 baht per month and 2001-3000 baht per month. The F value is 2.855. At the same level there are no differences among carreers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25486
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boontiwa_Na_front.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Boontiwa_Na_Ch1.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open
Boontiwa_Na_Ch2.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open
Boontiwa_Na_Ch3.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Boontiwa_Na_Ch4.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Boontiwa_Na_Ch5.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Boontiwa_Na_back.pdf25.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.