Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26258
Title: การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานไทยย้ายถิ่น
Other Titles: Cultural adjustment of Thai migrant workers
Authors: พรวิภา เหาตะวานิช
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
สุภาพรรณ โคตรจรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@Chula.ac.th
Supapan.K@Chula.ac.th
Subjects: การปรับตัว (จิตวิทยา)
การปรับตัวทางสังคม
วัฒนธรรม
การย้ายถิ่นของแรงงาน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาประสบการณ์การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานไทยย้ายถิ่น เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลที่เคยเดินทางไปทำงานเป็นแรงงานในต่างประเทศ เป็นเพศชายทั้งหมดจำนวน 9 ราย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบประเด็นหลักทั้งหมด 7 ประเด็น ได้แก่ 1) แรงจูงใจหลักในการไปทำงานต่างประเทศ คือ การมีความหวังถึงรายได้ที่ดีกว่า และความต้องการนำเงินมาดูแลครอบครัว สร้างฐานะความเป็นอยู่ 2) ภาวะใจเมื่อต้องย้ายถิ่น ที่แรงงานมีทั้งกลุ่มที่รู้สึกห่วงกังวลถึงครอบครัวและชีวิตความเป็นอยู่ในต่างประเทศ และกลุ่มที่พร้อมในการเดินทาง 3) การประสบกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อเดินทางถึงประเทศปลายทางแล้วแรงงานย้ายถิ่นต้องพบกับความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ เช่น สภาพอากาศ อาหาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และภาษา 4) สิ่งรบกวนใจในสภาพแวดล้อมใหม่ เป็นภาวะใจของผู้ให้ข้อมูลที่มีความรู้สึกคิดถึงบ้าน เหงาโดดเดี่ยว มีความทุกข์ใจจากการดำเนินชีวิตที่ยากลำบาก และรู้สึกเหน็ดเหนื่อยท้อแท้กับการทำงาน 5) การปรับตัวเมื่ออยู่ในวัฒนธรรมใหม่ โดยผู้ใช้แรงงานย้ายถิ่นมีการปรับเจตคติและความคิดของตนเอง มีการจัดการกับสิ่งรบกวนใจ และมีการดูแลและพึ่งพาตนเอง 6) สิ่งเกื้อหนุนในการดำเนินชีวิตในต่างประเทศ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเป็นสังคมคนไทยในที่ทำงานเดียวกันและเครือข่ายคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า และ 7) รางวัลจากแรงกายในต่างแดน ได้แก่ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว และการมีความสุขเมื่อกลับมาอยู่เมืองไทยซึ่งเป็นผลจากการเดินทางไปทำงาน ผลการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานที่ย้ายถิ่น และเป็นแนวทางให้นักจิตวิทยาการปรึกษาในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศต่อไป
Other Abstract: This study aimed to examine cultural adjustment of Thai migrant workers. Participants were 9 males who were selected based on these criteria. Data were collected through in-depth interviews and analyzed using a consensual qualitative research method. Data analysis yielded 7 domains: 1) an increase in the income as the main incentive for worker’s migration, 2) concerns about family and adjustment to living in a foreign country, particularly in those without sufficient preparation for the migration, 3) experiences of cultural and environmental differences (e.g. weather condition, food, social interaction, and language), 4) emotional distress in the new environment (e.g., homesickness, loneliness, and emotional suffering as a result of challenges in the new living and fatigue), 5) adjustment to the new environment by changing own beliefs and attitude, managing emotional disturbance, and taking care of oneself, 6) resources for living abroad, especially those obtained through networking with Thai coworkers and other Thais, and also orientation before migration, 7) the sense of fulfillment upon returning home and witnessing improvement in family’s well-being and living conditions.The findings of this study might lead to better understanding of cultural adjustment of Thai migrant workers and can be implemented as a guideline to promote migrant workers well-being.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26258
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1889
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1889
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornvipa_ha.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.