Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26297
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
dc.contributor.advisorพิษเณศ เจษฎาฉัตร
dc.contributor.authorบุณฑริกา บูลภักดิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-27T02:29:16Z
dc.date.available2012-11-27T02:29:16Z
dc.date.issued2546
dc.identifier.isbn9741755252
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26297
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา (2) ศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทัศนะของผู้บริหารและครู (3) ความสอดคล้องของการจัดสรรทรัพยากรกับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) ศึกษาปัจจัยเชิงบริหารและสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างโรงเรียนแตกต่างกัน และ (5) นำเสนอแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้การประมาณฟังก์ชั่นการผลิตทางการศึกษา ส่วนการวิเคราะห์ในประเด็นอื่นๆใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มากจาก (1) ข้อมูลพื้นของโรงเรียนสังกัดกทม. 50 แห่ง สังกัดสช. 44 แห่ง และสังกัดสป.กทม. 24 แห่ง (2) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูภาษาไทย และครูคณิตศาสตร์ 354 คน (3) ข้อมูลคุณลักษณะนักเรียนและพื้นฐานครอบครัวจากผู้ปกครองนักเรียน 3,368 คน (4) ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2545 ของสำนักทดสอบทางการศึกษา (5) ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน 6 ท่าน และ (6) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมโรงเรียนทุกสังกัด ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย คือ การเคยเรียนระดับอนุบาล เพศของนักเรียน วุฒิการศึกษาด้านการบริหาร สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ประสบการณ์ด้านการบริหาร ประสบการณ์ด้านการสอนและอัตราส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ สำหรับปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ คือ การเคยเรียนระดับอนุบาล วุฒิการศึกษาด้านการบริหาร เพศของนักเรียน สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว อัตราส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ ขนาดขั้นเรียน ประสบการณ์ด้านการบริหาร ประสบการณ์ด้านการสอนและภาระงานสอนและงานที่เกี่ยวกับการสอน นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชาสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก เมื่อจำแนกตามสังกัด พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชามีความแตกต่างกันบ้าง แต่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างมากได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว วุฒิการศึกษาด้านการบริหาร ประสบการณ์ด้านการบริหาร ประสบการณ์ด้านการสอนและการเคยเรียนระดับอนุบาล ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทัศนะของผู้บริหารและครูคือความสุขที่นักเรียนได้มาโรงเรียนขวัญและกำลังใจของครู ความคิดริเริ่มของผู้บริหาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน สำหรับการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาที่ผ่านมายังไม่ค่อยสอดคล้องกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นอกจากนี้ปัจจัยเชิงบริหารและสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างโรงเรียนแตกต่างกันคือ ประสบการณ์ด้านการบริหาร การเพิ่มพูนความรู้ของผู้บริหารและครู ภาวะความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การนิเทศงานและความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ดังนั้นภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมารเพื่อ (1) ช่วยเหลือนักเรียนที่ยกจน (2) ให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนระดับอนุบาล (3) พัฒนาทักษะผู้บริหารและครู (4) จัดหาอุปกรณ์การศึกษาที่เหมาะสม
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis were: (1) to study factors affecting primary school students' achievement; (2) to study administrators ' and teachers ' opinion on determinants of learning achievement; (3) to study the relationship between resource allocation and factors affecting learning achievement; (4) to study the causes of learning achievement disparity among schools; (5) to propose the alternative resource allocation . Data used for estimating the educational production function and calculating descriptive statistics were obtained from 50 district schools , 44 private schools, 24 public schools; 354 administrators and teachers ; 3,368 students' parents; Bureau of Education Testing; 6 administrators and 6 experts. The findings indicated that the crucial determinants for Thai language achievement for all schools were : preschool education, student's gender, administrator's education specialization , socio­ economic status, administrator's and teacher's experience, and students-computer ratio, while the determinants for mathematics achievement were : preschool education, administrator's education specialization, student's gender, socio-economic status, students-computer ratio, class size, administrator's experience, teacher's experience, and workload. Students' achievement in the large schools was higher than the medium and small schools. The main determinants of student's achievement that were similar to all schools under different authority were socio-economic status. administrator's education specialization , administrator's experience, teacher's experience, and preschool education . From the administrators' and teachers' opinion, determinants of learning achievement were students' enjoyment. teacher's motivation , administrator 's initiation, administrators and teachers acquiring new knowledge, and facilities provided for students that support self-learning . So far the allocation of resources was not coinciding with factors affecting students' achievement. The causes of different learning achievement among the school in respect to management were due to administrator 's experience, administrators and teachers acquiring new knowledge, leadership, teamwork, supervision, and relationship with parents and community . Thus, to increase students' learning achievement, the government has to allocate budget for supporting poor students, preschool education, and skill development for administrators and teachers, and provision of appropriate educational equipment.
dc.format.extent3653263 bytes
dc.format.extent3030000 bytes
dc.format.extent19999135 bytes
dc.format.extent6912908 bytes
dc.format.extent37982149 bytes
dc.format.extent7665592 bytes
dc.format.extent10646362 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleฟังก์ชั่นการผลิตทางการศึกษาและการจัดสรรทรัพยากรของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeEducational production function and resource allocation of primary schools in Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buntarika_bu_front.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Buntarika_bu_ch1.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Buntarika_bu_ch2.pdf19.53 MBAdobe PDFView/Open
Buntarika_bu_ch3.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
Buntarika_bu_ch4.pdf37.09 MBAdobe PDFView/Open
Buntarika_bu_ch5.pdf7.49 MBAdobe PDFView/Open
Buntarika_bu_back.pdf10.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.