Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27775
Title: อิทธิพลของสภาพการณ์และความเชื่อในเรื่องอัตลิขิต ที่มีต่อพฤติกรรมการคล้อยตาม
Other Titles: Influence of situations and belief in internal-external on conformity behavior
Authors: อรวรรณ สุขีธรรมรักษ์
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้จุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพการณ์และความเชื่อในเรื่องอัตลิขิตที่มีต่อพฤติกรรมการคล้อยตาม โดยจัดสภาพการณ์ 2 ชนิด คือ สภาพการณ์ที่เป็นกลุ่มครู และสภาพการณ์ที่เป็นกลุ่มเพื่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ จำนวน 80 คน ซึ่งเป็นผู้ได้รับคะแนนจากแบบสอบถามวัดความเชื่อในเรื่องอัตลิขิตสูงและต่ำ 20% แบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอัตลิขิตจากภายใน และกลุ่มที่มีความเชื่อในอัตลิขิตจากภายนอก นำกลุ่มตัวอย่างมาทดสอบเกี่ยวกับพฤติกรรมการคล้อยตามเป็นรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามแนวของแอสช์ ภายใต้สภาพการณ์ที่กำหนดให้ ผู้รับการทดลองแต่ละคนจะเข้ารับการทดลองภายใต้สภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งเท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (Three-way Analysis of Variance) โดยมีสภาพการณ์ ความเชื่อในเรื่องอัตลิขิต และเพศ เป็นตัวแปรอิสระ พฤติกรรมการคล้อยตามเป็นตัวแปรตาม ผลการวิจัย 1. สภาพการณ์ที่เป็นกลุ่มครู และสภาพการณ์ที่เป็นกลุ่มเพื่อน มีผลทำให้นักศึกษามีระดับพฤติกรรมการคล้อยตามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยที่นักศึกษาที่เข้ารับการทดลองในกลุ่มครูมีพฤติกรรมการคล้อยตามสูงกว่านักศึกษาที่เข้ารับการทดลองในกลุ่มเพื่อน 2. นักศึกษาที่มีความเชื่อในอัตลิขิตจากภายใน และนักศึกษาที่มีความเชื่อในอัตลิขิตจากภายนอก มีระดับพฤติกรรมการคล้อยตามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่นักศึกษาที่มีความเชื่อในอัจลิขิตจากภายนอกมีพฤติกรรมการคล้อยตามสูงกว่า นักศึกษาที่มีความเชื่อในอัตลิขิตจากภายใน 3. นักศึกษาชายและหญิง มีระดับพฤติกรรมการคล้อยตามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่นักศึกษาหญิงมีพฤติกรรมการคล้อยตามสูงกว่านักศึกษาชาย
Other Abstract: The purpose of this research was to study the influence of situations and Belief in Internal-External on conformity behavior by arranging two situation groups; namely, an instructor group and a peer one. The subjects were eighty male and female second year students of Uttaradit Teacher College during the 1974 academic year. Their scores were in either the highest or lowest 20% were divided into an internality and externality group. The Conformity Test was constructed according to Asch to study the conformity behavior of each subject individually under given situations. The Three-way Analysis or Variance was applied to analyze the data. The instructor or peer group situation, belief in Internal-External Control and sex were independent variables while conformity behavior was a dependent variable. The research findings were as follows: 1. There was a significant difference (P<.O1) in conformity behavior between the subjects in the instructor group situation and peer group situation. That is, the subjects in the instructor group had a higher degree of conformity than those in the peer group. 2. There was a significant difference (P<.O5) in conformity behavior between internality and externality. That is, the externality group had a higher degree of conformity than the internality group. 3. There was a significant difference (P<.05) in conformity behavior between male and female student groups. That is, females showed higher conformity than males.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27775
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_Su_front.pdf383.36 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Su_ch1.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_Su_ch2.pdf803.93 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Su_ch3.pdf290.96 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Su_ch4.pdf468.98 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Su_ch5.pdf365.65 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Su_back.pdf587.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.