Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28329
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationships between selected factors and empathy of professional nurses in government hospitals, Bangkok metropolis
Authors: เรวดี ศิรินคร
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และกลุ่มของตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วย โดยมีสมมุติฐานการวิจัยดังนี้ (1) " อัตมโนทัศน์ ค่านิยมทางวิชาชีพ ค่านิยมทางบริการ ประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาล และอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วย และภาระงานที่รับผิดชอบมีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วย " (2) " อัตมโนทัศน์ ค่านิยมทางวิชาชีพ ค่านิยมทางบริการ ภาระงานที่รับผิดชอบ ประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาล และอายุ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วย" เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้นๆ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วย ในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานครโดยส่วนรวมอยู่ในระดับต่ำ 2. อัตมโนทัศน์ ค่านิยมทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาล อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่านิยมทางบริการ และภาระงานที่รับผิดชอบ ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมรู้สึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. กลุ่มพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความร่วมรู้สึกที่มีต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 2 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการพยากรณ์จากมากไปหาน้อยได้แก่ อัตมโนทัศน์ ประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาลสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความร่วมรู้สึกได้ร้อยละ 3.10 ( R2 = .0310) 5. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความร่วมรู้สึกที่มีต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 มี 2 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการพยากรณ์จากมากไปหาน้อยได้แก่ ประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาล ค่านิยมทางวิชาชีพ สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความร่วมรู้สึกได้ร้อยละ 4 .33 ( R2 = .0433) 6. ตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ความร่วมรู้สึกที่มีต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่สำคัญมีเพียงตัวเดียวคือ ภาระงานที่รับผิดชอบสามารถอธิบายความผันแปรของความร่วมรู้สึกได้ร้อยละ 16 .79 ( R2 = .1679)
Other Abstract: The purposes of this research were to study Empathy of Professional nurses in governmental hospitals in Bangkok Metropolis, and to study variables which would explain variances and predict the Empathy. It was hypothesized that: (1) Self-Concept, Professional Values, Service Traditional Values, Nursing Experience and Age were positively correlated with Empathy, whereas Work Characteristics was negatively correlated with Empathy, (2) those 6 variables would explain variances and predict the Empathy. The instruments for data collection was 4 sets of questionnaires which were developed by the researcher. Stepwise Multiple Regression Analysis was employed to analyze the obtained data. The major findings were as the followings:- 1. Lower level of Empathy was found within Professional nurses in the governmental hospitals. 2. Self-Concept and Professional Values were positively and significantly correlated with Empathy at the .05 level of significance, whereas Nursing Experience and Age were negatively related to Empathy at the .05 level of significance. 3. There were no significance correlation between Empathy and Service Traditional Values, Work Characteristics. 4. The 3.10 per cent of variance in Empathy were explained by two predictors which were ranked in their power of predictor as "Self Concept" and "Nursing Experience" respectively. 5. The 4.33 per cent of variance in Empathy of Professional nurses practicing in general wards were explained by Nursing Experience and Professional Values. It was found that Nursing Experience can predict better than Professional Values. 6. The 16.79 per cent of variance in Empathy of Professional nurses practicing in Labor Room was explained by Work Characteristics only.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28329
ISBN: 9745685577
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Revadee_si_front.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Revadee_si_ch1.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Revadee_si_ch2.pdf15.47 MBAdobe PDFView/Open
Revadee_si_ch3.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Revadee_si_ch4.pdf7.64 MBAdobe PDFView/Open
Revadee_si_ch5.pdf12.4 MBAdobe PDFView/Open
Revadee_si_back.pdf20.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.