Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29644
Title: การประเมินโปรแกรมพลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือ
Other Titles: An evaluation of physical education programs of secondary schools in the northern region
Authors: พาณิชย์ สินสุข
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเพื่อเปรียบเทียบโปรแกรมพลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐกับโรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหมวดวิชาพลานามัยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ จำนวน 167 คน และประชากรจากโรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชน 23 คน รวมทั้งสิ้น 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบประเมินโปรแกรมพลศึกษาที่ ชาญชัย ชอบธรรมสกุล ได้พัฒนาขึ้น และนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปและแบบสัมภาษณ์หัวหน้าหมวดวิชาพลานามัย หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่า “ที” วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายหลัง ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมพลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ในภาคเหนือ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ทั่วประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 52.30 และ 50.00 ตามลำดับและเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของภาคเหนือ พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 54.50 โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 63.70 และ 47.70 ตามลำดับ โปรแกรมพลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐ กับโรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชน ในภาคเหนือ โดยภาพรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบโปรแกรมพลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมระหว่างขนาดของโรงเรียน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to evaluate and to compare physical education programs of secondary schools in the northern region. Population were 190 heads of Physical Education and Health Education sections or the representatives, 167 of them from public secondary schools and 23 of them from the private secondary schools. Charnchai Chobthamasukul’s evaluation model for quality of physical education programs was used as and instrument to collect the data. The data were then analyzed in terms of means, standard deviations and percentages. The t-test, one-way analysis of variance and Scheffe were also employed to determine the significance of means differences and multiple comparisons respectively. The findings were as follows : Comparing with national norms, the quality of physical education programs of large, extra-large secondary schools, were considered at “good level”, 52.30 and 50.00 percent, respectively. And when compared with the northern region norms, the quality of physical education programs of extra-large secondary schools was considered at “good level” 53.50 percent. According to the result of the t-test, there were significant difference between public and private secondary schools in terms of class instruction, the physical education teachers, managing and organizing, management and service facilities and equipment at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29644
ISBN: 9746324403
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panich_si_front.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open
Panich_si_ch1.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Panich_si_ch2.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open
Panich_si_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Panich_si_ch4.pdf22 MBAdobe PDFView/Open
Panich_si_ch5.pdf15.27 MBAdobe PDFView/Open
Panich_si_back.pdf60.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.