Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29816
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่ง การเก็บรักษา และการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเชื้อเพลิง
Other Titles: Security Measures for L.P.G and Fuel procurement,Transportation and Containerization
Authors: ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
Advisors: ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การขนส่ง -- มาตรการความปลอดภัย
การบรรจุก๊าซปิโตรเลียม
น้ำมันเชื้อเพลิง
ก๊าซเชื้อเพลิง -- มาตรการความปลอดภัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่ง การเก็บรักษา และการจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเชื้อเพลิง ในปัจจุบันปรากฏอยู่ในบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับด้วยกัน บทบัญญัติที่ว่าด้วยมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการบรรจุ การขนส่งและการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรงได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับอื่นๆ อีกมากมายหลายฉบับที่ส่งผลต่อระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับการบรรจุ การขนส่ง และการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวงและน้ำมันเชื้อเพลิงในทางอ้อม เนื่องจากในการบัญญัติกฎหมายต่างๆ ที่มีผลต่อมาตรการความปลอดภัยดังกล่าว เป็นการบัญญัติขึ้นมาในลักษณะตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ และให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐหลายๆ องค์กร ทำหน้าที่อิสระในการบังคับการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับ จึงทำให้มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่ง การเก็บรักษา และการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เป็นระบบ ขาดความเป็นเอกภาพ ซ้ำซ้อน และเกิดช่องว่างของกฎหมาย นอกจากจะมีบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการควบคุมป้องกันก่อนการเกิดภยันตรายดังที่กล่าวมา ยังมีกระบวนการของกฎหมายที่จะใช้บริการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งต่อปัจเจกบุคคลและต่อสาธารณะประกอบเป็นอีกส่วนหนึ่งของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่ง การเก็บรักษา และการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเชื้อเพลิง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอแนะให้รัฐทำการชำระปรับปรุงบทบัญญัติของที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นเอกภาพพร้อมๆ กับจัดองค์กรของรัฐที่จะเข้ามาใช้กลไกตามกฎหมายดังกล่าวไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน หรือมีช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย และรัฐจะต้องเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะเดียวกันในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนผู้บริโภค รัฐต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงระบบการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างปลอดภัย สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบการ รัฐควรเข้าไปจัดตั้งเป็นกองทุนซึ่งเก็บสะสมจากยอดปริมาณการจำหน่ายของก๊าซปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้สามารถนำมาใช้เยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับภยันตรายได้ทันท่วงทีและเพียงพอ ในขณะเดียวกันรัฐควรจะกำหนดให้เฉพาะแต่บริษัทน้ำมันซึ่งเป็นบริษัทแม่รับภาระในขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขนส่ง การบรรจุ การเก็บรักษา และในส่วนของผู้ประกอบการรายย่อย รัฐควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างวินัยในการประกอบการและควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกัน
Other Abstract: Though at present, security measures for L.P.G. and fuel procurement, transportation and containerization appear in many provisions, the original one is the Fuel Procurement Act B.E. 2474 and the Revolution Announcement No. 28 dated 29 December B.E. 2514. Besides, there is still a number of provisions providing the indirect impact towards the security system in regard to L.P.G. and fuel procurement, transportation and containerization. Since different laws were issues to solve immediate problems at different periods and such provisions have authorized different government agencies to implement them separately and freely, security measures have gap and duplication and are not unified. Apart from these provisions issued to prevent the damages, there is another legal procedures that relieve both the individual and public damage caused by L.P.G. and fuel procurement, transportation and containerization. This thesis suggests that the government revise and unify supervise in order to avoid the duplication and gap in law enforcement and to enforce the law more strictly. As for the public, the government should try to raise the public awareness of the safety measures for the use of L.P.G. and fuel. As for the distributors, the government should establish the fund raised from the sale of L.P.G. and fuel to give sufficient and ready assistance to the victims. Meanwhile, the government should assign the wholesalers to take responsibility in various procedures especially transportation, containerization and procurement. As for the detailers, the government should promote the unification to create the discipline and mutual inspection.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29816
ISSN: 9745817864
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_la_front.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_ch1.pdf34.52 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_ch2.pdf24.57 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_ch3.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_ch4.pdf18.12 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_ch5.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_ch6.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_la_back.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.