Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31008
Title: การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการศึกษาเพื่อกำหนดบทบาทและความสำคัญ ของชุมชนศูนย์กลางขนาดเล็ก : กรณีศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: The application of microcomputer in study to identify the role and importance of lower order centers : a case study of Chachoengsao province
Authors: อัญชณี ทุมโนน้อย
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ชุมชน -- การวางแผน
การศึกษา -- การประมวลผลข้อมูล
ฉะเชิงเทรา
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะประยุกต์ใช้ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นชุมชนศูนย์กลางมาใช้กับการศึกษาเพื่อกำหนดบทบาท และความสำคัญของชุมชนศูนย์กลางขนาดเล็ก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยพิจารณาจากตัวแปรด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และบริการสังคมของชุมชนศูนย์กลางขนาดเล็กแต่ละแห่ง ด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ และ Lucid 3-D ช่วยในการคำนวณทางสถิติโปรแกรมสำเร็จรูป Micro-Soft Chart, Quattro และ Dr. HALO III สำหรับการสร้างกราฟ แผนภูมิ และแผนที่ โดยสรุปและนำเสนอผลงานการวิจัยทั้งหมดด้วยโปรแกรม Showpartner F/X จากการศึกษาพบว่าชุมชนพนมสารคามมีบทบาทสำคัญ คือ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับการเกษตรที่สำคัญของจังหวัด โดยมีชุมชนบางวัวและบางปะกง เป็นศูนย์กลางสำคัญทางด้านบริการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม ชุมชนบางน้ำเปรี้ยวเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านเกษตรกรรม โดยชุมชนเหล่านี้มีรูปแบบและความสัมพันธ์ทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกันจากชุมชนศูนย์กลางที่มีระดับการพัฒนาและอันดับความสำคัญสูงกว่า ไปยังชุมชนศูนย์กลางที่มีระดับการพัฒนาและอันดับความสำคัญต่ำกว่า ตามลักษณะโครงข่ายที่ต้องของชุมชนแต่ละแห่ง บทสรุปที่ได้จากการนำระบบไมโครคอมพิวเตอร์ และข้อมูลทุติยภูมิมาใช้กับการศึกษาได้ผลใกล้เคียงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการนำระบบไมโครคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนภาคและผังเมืองในด้านอื่น ๆ ต่อไป โดยพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมและสามารถนำมาใช้งานได้อย่างสัมพันธ์กับลักษณะของงานวิจัย รวมทั้งสนับสนุนการนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
Other Abstract: The objective of is thesis is to apply the microcomputer and utilize the secondary data in study to identify the role and importance of lower order centers in Cha Choeng Sao province. The 5 features of variables will be considered: physical, population, economic, industry and social service features. Because of the complication of data and out of number, the microcomputer is applied to this study by use software package i.e. SPSS/PC+ for Factor Analysis, LUCID 3-D for the statistical method, Micro-soft chart, Quattro and DR.HALO III for making graphs, charts, maps and Showpartner F/X for presentation. The result of the study shows that Phanom Sarakham plays a role on the agro-industrial center, while the role of Bang Wua and Bang Pakong is the service center for transportation of industrial goods, Bang Nam Priew is an important center for agriculture. These centers have the form and relationship of development from the higher hierachy center to the lower hierachy one as their location network. So to say that the application of microcomputer and utilization of secondary data are convincing. Finally, this thesis proposal is that rnicrocomputer and secondary data should be applied to study on urban and regional planning, in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31008
ISBN: 9745768138
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchanee_tu_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Anchanee_tu_ch1.pdf752.35 kBAdobe PDFView/Open
Anchanee_tu_ch2.pdf888.14 kBAdobe PDFView/Open
Anchanee_tu_ch3.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open
Anchanee_tu_ch4.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Anchanee_tu_ch5.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Anchanee_tu_back.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.