Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31516
Title: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ทางการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
Other Titles: A synthesis of mathematics education theses on mathematical skills and processes
Authors: สิริวรรณ จันทร์กูล
Advisors: อัมพร ม้าคนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aumporn.M@chula.ac.th
Subjects: Dissertations, Academic
Mathematics
Mathematics -- Study and teaching
Content analysis (Communication)
Mathematical ability
Mathematics -- Research
วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การวิเคราะห์เนื้อหา
ความสามารถทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ -- วิจัย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ทางการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เป็นวิทยานิพนธ์ที่เผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2551 จำนวน 147 เล่ม จาก 8 มหาวิทยาลัย เครื่องมือใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกรายละเอียดของวิทยานิพนธ์และแบบบันทึกผลการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ วิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือจากความสอดคล้องของกรอบการสังเคราะห์และผลการสังเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้ความถี่และร้อยละ และสังเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสังเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า วิทยานิพนธ์ที่ศึกษาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปริญญาโทมากที่สุด ส่วนใหญ่เผยแพร่ในช่วงหลังการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เน้นงานวิจัยเชิงกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์มุ่งเปรียบเทียบความสามารถระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มปกติ วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ทำการศึกษาตัวแปรตาม 2 ตัวแปร ตัวแปรหลักที่ทำการศึกษามากที่สุด ได้แก่ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยมีการศึกษาร่วมกับตัวแปรอื่นๆ วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ผลการสังเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า วิทยานิพนธ์ที่ศึกษาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีการสร้างหน่วยการเรียน มีรูปแบบที่ใช้ในการสอนหลากหลาย เน้นการทำกิจกรรมกลุ่ม ใช้สื่อเทคโนโลยี และสื่อวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการเรียนการสอน มีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการวัดแต่ละทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยมีจุดเน้นที่แตกต่างกันจำแนกตามทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ 1.การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาตามลำดับขั้นตอนและมีการใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟและเครื่องคิดเลข และนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูง ได้แก่ นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย 2.การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มีการพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและใช้สื่อสิ่งพิมพ์ให้หาคำตอบพร้อมอธิบายเหตุผล 3. การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบร่วมกันเป็นกลุ่มและเขียนแสดงผังความคิด 4.การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เน้นการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง 5.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ มีการพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการแสดงความหลากหลายของคำตอบและวิธีการหาคำตอบ ลักษณะของนักเรียนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูง ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูง
Other Abstract: The purpose of this research was to synthesize 147 mathematics education theses on mathematical skills and processes which consisted of 5 skills ; mathematical problem solving, reasoning, communication and presentation, connection, and creativity. These theses were published between 1989 to 2008 from 8 universities. The instruments used in this research were a research summary form and a research synthesis form. The index of congruency between the synthesis framework and findings was used to find the quality of instruments. The data were analyzed by using quantitative and qualitative approaches. Statistics used for analysis were frequency, percentage, and content analysis. The finding of quantitative synthesis revealed that most of research studies on mathematical skills and processes were in the master degree level and published after implementing basic education curriculum. Most of them were quasi-experimental research. The purposes aimed to compare the abilities of mathematical skills and processes between the experimental group and the control group and to study for 2 dependent variables. Mathematical problem solving was the most studied. Most of the population and samples were in keystage 3 in Bangkok and the surrounding areas. The finding of qualitative synthesis revealed that theses on mathematical skills and processes were creating unit plans, using several teaching models emphasizing on group activity, using technologies and tools for teaching, as well as using several instruments to measure the abilities of mathematical skills and processes. The different focuses of 5 skills can be categorized as follows.; 1.Mathematical problem solving: use of worksheets for developing problem solving processes and use of the graphing calculator. Students with high ability of mathematical problem solving were those with democratic rearing. 2.Mathematical reasoning: use of developed curriculum which promoted reasoning ability and use of worksheets for finding answers with reasoning. 3.Mathematical communication and presentation: use of worksheets for finding answers on group activities and showing mind maps. 4.Mathematical connection: use of worksheets emphasizing on connecting to real life. 5.Mathematical creativity: use of developed curriculum which promoted creativity and use of worksheets showing various answers and solutions. Students with high ability of mathematical creativity were those with high mathematics learning achievement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31516
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.281
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.281
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriwan_ja.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.