Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31853
Title: ผลของการใช้กิจกรรมฝึกให้คิดและการเสริมแรงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ที่มีต่อการเพิ่มพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ของเด็กก่อนวัยเรียน
Other Titles: Effects of exercising in thinking and reinforcing altruistic behavior on increasting altruistic behavior of preschool children
Authors: อังสนา ภัทรายุตวรรตน์
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมฝึกให้คิดและการเสริมแรงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อที่มีต่อการเพิ่มพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแย้มสะอาดจำนวน 40 คน สุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลังการทดลองและติดตามผล กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบพฤติกรรมเอื้อเฟื้อในสภาพการณ์การบริจารในช่วงก่อนและหลังการทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการสังเกตพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของตัวอย่างในกลุ่มทดลองจำนวน 3 คน และตัวอย่างในกลุ่มควบคุมจำนวน 3 คน ในสภาพการณ์การเล่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าไคสแควร์และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมฝึกให้คิดและการเสริมแรงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อในสภาพการณ์การบริจาคเพิ่มขึ้นในระยะหลังการทดลองมากกว่าเด็กที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมฝึกให้คิดและการเสริมแรงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ 2. เด็กที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมฝึกให้คิดและการเสริมแรงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อมีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อในสภาพการณ์การเล่นเพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมฝึกให้คิดและการเสริมแรงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ
Other Abstract: The purpose of this research was to study effects of exercising in thinking and reinforcing altruistic behavior on increasing altruistic behavior of preschool children. The subjects were 40 students from Yamsaard kindergarten. They were randomly assigned to experimental group and control group with 20 students each. This research used the ABF control group design. All the subjects were tested altruistic behavior on the donation situation before and after the treatment. Observation was used to collect the data on altruistic behavior of three students from the experimental group and three students from control group during the play time period across the treatment. The data was analyzed by using chi-square and percentage. Results showed that: 1. The students who were participated in exercising in thinking and reinforcing altruistic behavior performed the altruistic behavior on the situation of donation after the treatment higher than the students who were not participated in exercising in thinking and reinforcing altruistic behavior performed the altruistic behavior during the play time period higher than the students who were not participated in exercising in thinking and reinforcing altruistic behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31853
ISBN: 9745771473
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aungsana_pu_front.pdf9.68 MBAdobe PDFView/Open
Aungsana_pu_ch1.pdf27.76 MBAdobe PDFView/Open
Aungsana_pu_ch2.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open
Aungsana_pu_ch3.pdf16.37 MBAdobe PDFView/Open
Aungsana_pu_ch4.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open
Aungsana_pu_ch5.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
Aungsana_pu_back.pdf11.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.