Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32656
Title: การศึกษาการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of personnel development procedure in primary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan administration
Authors: ยุพิน วรพุทธานนท์
Advisors: วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร และศึกษาปัญหาการดำเนินการพัฒนาบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 93 คน รวมทั้งการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนประถมศึกษาดังกล่าววิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ในการกำหนดจุดมุ่งหมายและบทบาทของโรงเรียนในการพัฒนา ครู – อาจารย์ นั้นพบว่าโรงเรียนยึดนโยบายต้นสังกัด และมีจุดมุ่งหมายและบทบาทเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และวิธีปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีประชุม ครู – อาจารย์ ช่วยกันกำหนดจุดมุ่งหมายและบทบาทของโรงเรียนในการพัฒนาครู – อาจารย์ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ ปัญหาที่พบคือ ไม่มีการกำหนดบทบาทของโรงเรียนในการพัฒนา ครู – อาจารย์ ไว้อย่างชัดเจน ในการจัดคณะบุคคลเพื่อดำเนินการและรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนา ครู – อาจารย์ พบว่าผู้บริหารโรงเรียนดำเนินการโดยการคัดเลือกบุคคลหรือคณะบุคคลโดยยึดประสบการณ์เป็นเกณฑ์ โดยมีหน้าที่สำรวจความต้องการของ ครู – อาจารย์ ในการพัฒนาแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนประเมินจากปฏิทินปฏิบัติงาน ปัญหาที่พบคือ การขาดผู้ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ในการกำหนดความต้องการในการพัฒนา ครู – อาจารย์ พบว่า ผู้บริหารใช้วิธีศึกษาจากปัญหาที่ผ่านมา แล้วแก้ไขตามความต้องการของ ครู – อาจารย์ ปัญหาที่พบคือ ไม่สามารถศึกษาความต้องการ ในการเตรียมแผนการพัฒนา ครู – อาจารย์ พบว่า ใช้วิธีการประชุม ครู – อาจารย์ ช่วยกันเตรียม และเตรียมไว้ตลอดปีการศึกษา โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการพัฒนา ครู – อาจารย์ พบว่า โรงเรียนปฏิบัติตามโครงการโดยยึดแผนที่วางไว้ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้วางแผน และครู – อาจารย์ เลือกกิจกรรม กิจกรรมที่โรงเรียนปฏิบัติมากที่สุดคือ การฝึกอบรม ปัญหาที่พบคือ ไม่สามารถดำเนินการได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ในการประเมินผลกระบวนการพัฒนา ครู – อาจารย์ พบว่า โรงเรียนให้ความสำคัญกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและบทบาทในการพัฒนา ครู – อาจารย์ โดยยึดประสิทธิภาพของงานเป็นเกณฑ์ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ประเมินหลังการดำเนินการ โดยการสังเกตพฤติกรรมหลังจากนั้นมีการนำข้อมูลในการประเมินไปใช้ในการพัฒนา ครู – อาจารย์ ในครั้งต่อไป ปัญหาที่พบคือ ไม่สามารถใช้วิธีการประเมินผลตามที่ได้กำหนดไว้
Other Abstract: The purposes of this study were to study the procedure and problems of personnel development in primary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. Ninety – three school administrators were interviewed also schools’ documents were carefully analyzed. Data were analyzed by using frequency and percentage. The findings showed that: The setting up of schools’ objectives and roles related to teacher development the results indicated that objectives and roles were setting up in correspond with the authority unit for developing cognitive, skills and attitude toward work. They were set up upon teachers’ meetings within the responsibilities of administrators. The problem found was lack of clearly stated regarding schools’ roles in teacher development. The organizing of personnel assigned was found that personnel were assigned by school administrators upon their experiences. They were assigned to study the teacher development needs while school administrators evaluated through work schedule. Problem found lack of personnel assigned for mornitoring. The needs identification was found that administrators studied the previous problems then adapt with teacher needs. Problem found was the unability to study the needs assessment. The planning preparation was found that the annual planning was prepared through teachers’ meetings under the responsibility of school administrators. The implementation procedure was found that schools implemented projects in accordance with prepared plans by which school administrators planned and teacher selected activities, and the activity which schools practiced most was a training. Problems was incapable of implementing correspond to the required duration. The development process evaluation was found that schools emphasized on setting up schools’ objectives and roles in teachers development by concentrated on work efficiency as criteria. A summative evaluation was done by school administrators through an observation. Evaluation results were utilized for the incoming projects. Problem found was unable to evaluate according to the methods required.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32656
ISBN: 9745779792
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupin_wo_front.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_wo_ch1.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_wo_ch2.pdf23.45 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_wo_ch3.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_wo_ch4.pdf51.04 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_wo_ch5.pdf13.57 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_wo_back.pdf17.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.