Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ กาญจนกิจen_US
dc.contributor.authorภูฟ้า เสวกพันธ์, 2520-en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2007-01-07T12:13:25Zen_US
dc.date.available2007-01-07T12:13:25Zen_US
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.isbn9741301332en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3315en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อ การพัฒนาเชาวน์อารมณ์ของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย จำนวน 45 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 1 โปรแกรมนันทนาการการละครและค่ายพักแรม จำนวน 15 คน กลุ่มทดลองที่ 2 โปรแกรมนันทนาการการกีฬาและเกมจำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน ประเมินเชาวน์อารมณ์ โดยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขปี 2543 กับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มก่อนการทดลอง 1 สัปดาห์จากนั้นนำกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 เข้าโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 2 ชั่วโมง หลังการทดลอง 1 สัปดาห์ ประเมินเชาวน์อารมณ์ทั้ง 3 กลุ่ม นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Anova) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองที่ 1 (โปรแกรมนันทนาการการละครและค่ายพักแรม) และกลุ่มทดลองที่ 2 (โปรแกรมนันทนาการการกีฬาและเกม) มีพัฒนาการคะแนนเฉลี่ยของเชาว์อารมณ์ดีกว่า ก่อนการทดลอง ภายหลังสัปดาห์ที่ 8 โดยกลุ่มทดลองที่ 1 (โปรแกรมนันทนาการการละครและค่าพักแรม) พบว่ามีพัฒนาการคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ดีกว่าก่อนการทดลองกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุมตนเอง ด้านเห็นใจผู้อื่น ด้านรับผิดชอบ ด้านมีแรงจูงใจ ด้านตัดสินใจและแก้ปัญหา ด้านสัมพันธภาพ ด้านภูมิใจตนเอง และด้านพอใจชีวิต ยกเว้น ด้านสุขสงบทางใจ ไม่มีความแตกต่างกัน กลุ่มทดลองที่ 2 (โปรแกรมนันทนาการการกีฬาและเกม) พบว่ามีพัฒนาการคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ดีกว่าก่อนการทดลองกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุมตนเอง ด้านเห็นใจผู้อื่น ด้านมีแรงจูงใจ ด้านตัดสินใจและแก้ปัญหา ด้านสัมพันธภาพ ส่วนอีก 4 ได้แก่ด้านรับผิดชอบ ด้านภูมิใจตนเอง และด้านพอใจชีวิต ด้านสุขสงบทางใจ ไม่มีความแตกต่างกัน 2. กลุ่มทดลองที่ 1 (โปรแกรมนันทนาการการละครและค่ายพักแรม) และกลุ่มทดลองที่ 2 (โปรแกรมนันทนาการการกีฬาและเกม) มีพัฒนาการคะแนนเฉลี่ยของเชาวน์อารมณ์ไม่แตกต่างกัน ภายหลังสัปดาห์ที่ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองที่ 1 (โปรแกรมนันทนาการการละครและค่ายพักแรม) มีพัฒนาการคะแนนเฉลี่ยของเชาว์อารมณ์ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ภายหลังสัปดาห์ที่ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. กลุ่มทดลองที่ 2 (โปรแกรมนันทนาการการกีฬาและเกม) มีพัฒนาการคะแนนเฉลี่ยของเชาวน์อารมณ์ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ภายหลังสัปดาห์ที่ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeTo study and compare the effects of recreation program on development of student's emotional intelligence at the university level. The samples were forty-five Chulalongkorn University students divided into 3 groups: the experimental group one of 15 students, who had been participated in drama acting and camping program, the experimental group two of 15 students, who had been participated in sports and games program and the control group of 15 students. The three groups were examined their emotional intelligence by using the Department of Mental Health's Emotional Intelligence Test during one week before the experiment. Then, the experimental group one and two were participated in recreation program for two hour a day and three day per week within eight-week period. The data were collected after eight week using the Emotional Intelligence Test and analyzed in terms of X, SD, t-test, and One-Way Analysis Variance. The results were : 1. After 8 weeks program, The experimental group one (drama acting and camping program) and group two (sports and games program) had improved the arithmetic means better than before pretest. In the experimental group one were founded significantly difference at .05 level in 8 areas respectively: self-control, sympathy, response, motivation, decide and problem solving, relation, proudness, self-satisfaction, except peacefulness. In the experimental group two were founded significantly difference at .05 level in 5 areas respectively: self-control, sympathy, motivation, decide and problem solving, relation, except areas of response, proudness, self-satisfaction and peacefulness. 2. The experimental group one (drama acting and camping program) and group two (sports and games program) had improved the arithmetic means on emotional intelligence but no significantly difference at .05 level. 3. The experimental group one (drama acting and camping program) had improved the arithmetic means on emotional intelligence but no significantly difference at .05 level. 4. The experimental group two (sports and games program) had improved the arithmetic means on emotional intelligence but no significantly difference at .05 level.en_US
dc.format.extent2662185 bytesen_US
dc.format.extent1843 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.format.mimetypetext/plain-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนันทนาการen_US
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์en_US
dc.titleผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อการพัฒนาเชาวน์อารมณ์ ของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeEffects of recreation program on development of student's emotional intelligence at the university levelen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pufa.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.