Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33330
Title: อิทธิพลของแบบการเรียน แบบการสอน และความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Effects of learning styles, teaching styles and matching of learning styles-teaching styles on ninth grade students' science learning achievement with attitude toward science as mediator
Authors: อัฉราพรรณ นิลเถื่อน
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Auyporn.R@chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การเรียน
การสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Science -- Study and teaching (Secondary)
Learning
Teaching
Academic achievement
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แบบการเรียนของนักเรียนและแบบการสอนของครูในวิชาวิทยาศาสตร์ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของแบบการเรียนของนักเรียนกับแบบการสอนของครูในวิชาวิทยาศาสตร์ และ 3) วิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของแบบการเรียน แบบการสอน และความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 857 คน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรต้น 3 ตัวแปร คือ แบบการเรียน แบบการสอน และความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอน และตัวแปรตาม 2 ตัวแปร คือ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ไค-สแควร์ การวิเคราะห์สถิติทีแบบเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีแบบการเรียนแบบประยุกต์มากที่สุดในขณะที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ รองลงมาคือ แบบคิดอเนกนัย แบบคิดเอกนัย และแบบซึมซับ ตามลำดับ และนักเรียนรับรู้ว่าครูวิทยาศาสตร์ มีแบบการสอนแบบซึมซับมากที่สุด รองลงมาคือ แบบคิดเอกนัย แบบประยุกต์ และแบบคิดอเนกนัย ตามลำดับ 2) นักเรียนส่วนใหญ่รับรู้ว่ามีแบบการเรียนไม่สอดคล้องกับแบบการสอนของครู(ร้อยละ 84.130) และ 3) โมเดลการวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า χ² = 10.455, df = 20, p = 0.959, GFI = 0.998 และ AGFI = 0.991 โดยตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ได้รับอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตัวแปรเจตคติต่อวิทยาศาสตร์มากที่สุด รองลงมาคือ ตัวแปรแบบการสอน ตัวแปรแบบการเรียน และตัวแปรความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอน มีขนาดอิทธิพล 0.780 -0.308 0.102 และ -0.075 ตามลำดับ และแบบการเรียนและแบบการสอน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study student’s learning styles and teachers’ teaching styles in science 2) to study matching of learning styles - teaching styles in science and 3) to study direct and indirect effect of learning styles, teaching styles and matching of learning styles - teaching styles on ninth grade students’ science learning achievement with attitude toward science as mediator. The sample consisted of 857 ninth grade students in school under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission in Bangkok Metropolitan area. Data consisted of 3 independent variables: learning styles, teaching styles, matching of learning styles - teaching styles and 2 dependent variables: attitude toward science and science learning achievement. Data analysis were descriptive statistics, χ2-test, t-test independent, one-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation and LISREL analysis. The research results were summarized as follows: 1) The most students’ learning styles were accommodation style follow by divergent style, convergent style and assimilation style, respectively and most science teachers’ teaching styles were assimilation style follow by convergent style, accommodation style and divergent style, respectively. 2) The most students’ learning styles mismatch with science teachers’ teaching styles (84.130%). 3) The model of direct and indirect effect of learning styles, teaching styles and matching of learning styles - teaching styles on ninth grade students’ science learning achievement with attitude toward science as mediator fit to the empirical data with χ² = 10.455, df = 20, p = 0.959, GFI = 0.998 and AGFI = 0.991. Science learning achievement received direct effect from attitude toward science follow by teaching styles, learning styles and matching of learning styles - teaching styles with magnitude of 0.780 -0.308 0.102 and -0.075 respectively and all of which were statistically significant at 0.05 level. Learning styles and teaching styles, which indirect effect to ninth grade students’ science learning achievement at statistically significant at 0.01 level with attitude toward science as mediator.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33330
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1507
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1507
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atcharapan_ni.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.