Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34667
Title: สภาพสังคมชนบทเวสเสกซ์ของอังกฤษในช่วงปี ค.ศ. 1872-1896 จากนวนิยายทั้ง 7 เรื่องของโทมัส ฮาร์ดี้
Other Titles: The condition on english rural society during 1872-1896 A.D.in the wessex country from seven novels of Thomas Hardy
Authors: อังคณา กมลเพ็ชร์
Advisors: ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา
สุภางค์ จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โทมัสอาร์ดี้ เป็นนักเขียนนวนิยายที่สะท้อนชีวิตชนบทของอังกฤษที่เด่นมากที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 19 ฮาร์ดิ้มีชีวิตอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ในสมัยวิคตอเรียน(ค.ศ. 1837-1901) อันเป็นผลสืบเนื่องมากจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมรมและการขยายตัวของพวกนายทุนรวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดจนความเคลื่อนไหวทางด้านแนวความคิดของนักปรัชญาในสมัยนั้น ฮาร์ดี้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างและสังคมของเมืองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนอกจากจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างและสังคมของเมืองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของสังคมชนบท อีกทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอีกด้วยฮาร์ดี้เติบโตมาในชนบทเวสเสกซ์หรือดอร์เซท ซึ่งตั้งอยู่ไปทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ เขารู้สึกขมขื่นใจเป็นอย่างยิ่งที่เห็นว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีส่วนทำลายชีวิตเกษตรกรรม และยังทำลายวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของหมู่บ้านอีกด้วย นวนิยายของเขาสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมชนบทที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ความทุกข์ยากลำบากของพวกชาวนา และคนงานกสิกรรมที่ได้รับความกดดันอย่างมากจากการจัดการทางเศรษฐกิจของพวกทุนนิยม และการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในไร่นา ฮาร์ดิ้ดูเหมือนจะเป็นทั้งนักวิจารณ์สังคม และนักประวัติศาสตร์ทางสังคมด้วยในขณะเดียวกันทั้งนี้เพราะนวนิยายของเขาสะท้อนให้เห็นถึงความจริงทางสังคมของดอร์เซท และงานเขียนของเขายังแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดอนุรักษ์นิยมในแง่ที่เขาเห็นคุณค่าของชีวิตชนบท รวมทั้งวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่นับวันก็ค่อยๆ ถูกกลืนหายไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสมัยใหม่
Other Abstract: Thomas Hardy one of the most prominent English rural novelists ofthe nineteenth century, lived in the period of increased social mobility inVictorian England. Essentially, England, at this time was deep in theconvulsive transformation of the Industrial Revolution: the rise o t ecapitalist society, the scientific and technological development, theintellectual movements etc. According to Hardy, the growth of industrial society had the impact not only on the change of social and economicstructure of the urban society but also on that of rural society.Furthurmore social and economic change is seen also in a culture and inthe relationship between man and his environment.Strongly influenced and dissatisfied by the penetration ofindustrial into the countryside of his native Wessex or Dorset, e gwhich lay in the southern part of England, Hardy felt a deep regret for thedestruction of agricultural life and traditional village culture. His Wessexnovels have reflected ironically and pessimistically the changes of ruralsociety - the misery of farmers and agricultural labourerstreatened by theeconomic management of capitalist class and theintroduction of the machine.Hardy seemed to have been both a social critic and social historian becausehis novels refected the social realities of Dorset and his conservativeidea of country life and traditional culture having been in the change ofmodern society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34667
ISBN: 9745771945
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aungkana_km_front.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Aungkana_km_ch1.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open
Aungkana_km_ch2.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Aungkana_km_ch3.pdf15.04 MBAdobe PDFView/Open
Aungkana_km_ch4.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open
Aungkana_km_ch5.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Aungkana_km_back.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.