Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34838
Title: การศึกษาการผลิตนมถั่วเหลืองผงโดยวิธีอบแห้งแบบพ่นกระจาย
Other Titles: A study on production of soymilk powder by spray drying
Authors: พิมพรรณ รัตนพฤกษานนท์
Advisors: ชัยยุทธ ธัญพิทยากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิตนมถั่วเหลืองผงโดยวิธีอบแห้งแบบพ่นกระจาย ผลการศึกษาพบว่า ในการเตรียมนมถั่วเหลืองนั้น การลวกถั่วเหลืองในสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนตความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ก่อนที่จะนำไปบด มีผลทำให้นมถั่วเหลืองมีกลิ่นรสที่ดี และเมื่อทำให้เข้มข้นขึ้นโดยการระเหยน้ำภายใต้สุญญากาศ นมถั่วเหลืองเข้มข้นที่ได้มีความหนืดเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนยกกำลังความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ได้ศึกษาความเข้มข้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการป้อนนมถั่วเหลืองเข้าเครื่องอบแห้ง พบว่าความเข้มข้นของนมถั่วเหลืองร้อยละ 10-15 เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับการป้อนเข้าเครื่องอบแห้งแบบพ่นกระจาย อุณหภูมิของลมเข้าที่เหมาะสม คือ 160-180 องศาเซลเซียส การศึกษาปัจจัยทางกายภาพและเคมีที่มีผลต่อการกระจายตัวของโปรตีนในนมถั่วเหลืองผง พบว่า การโฮโมจีไนซ์ การเพิ่ม pH การเติมโซเดียมไบซัลไฟท์ ไตรโซเดียมฟอสเฟตและ carrageenan ในนมถั่วเหลืองก่อนการทำแห้งนั้น มีผลทำให้การกระจายตัวของโปรตีนดีขึ้น แต่ความคงตัวของคอลลอยด์ของนมถั่วเหลืองคืนรูปยังไม่ดี เพราะมีการแยกชั้น การเติมเด็กซตรินในปริมาณร้อยละ 5-10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรลงในนมถั่วเหลืองก่อนการทำแห้ง ช่วยให้การละลายคืนสู่สภาพเดิมของนมถั่วเหลืองผงดี ไม่มีการแยกชั้น ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน 4 เดือน ในถุงอลูมิเนียมซึ่งด้านในฉาบด้วยพลาสติกโพลีเอทธีลีน
Other Abstract: The objective of this research project is to study various important process parameters in the production of spray-dried soymilk powder. In the preparation of soymilk, it was found that blanching the soybean in 0.5% sodium bicarbonate solution for 5 minutes had an significant effect on improving organoleptic property of the soymilk. The viscosity of the concentrated soymilk increased exponentially with the % total solid. The optimum concentration of the concentrated soymilk and inlet air temperature for spray drying was 10-15 % total solid and 160-180 ℃ respectively. The protein dispersibility index (PDI) was influenced by various physical and chemical factors, i.e. homogenization of concentrated soymilk, addition of sodium bisulfate, trisodium phosphate and carrageenan and increasing the pH of the concentrated soymilk before spray drying increased the PDI and colloidal stability of the resulting soymilk powder but could not prevent the colloidal separation of the reconstituted soymilk on standing. The incorporation of 5-10 % (w/v) dextrin in the concentrated soymilk prior to spray drying improved the solubility of the soymilk powder tremendously so that no colloidal separation was evident in the rehydrated soymilk on standing even after 1 hour. The soymilk powder packed in aluminium foil/polyethylene bag could be kept for 4 months at room temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34838
ISBN: 9745624357
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpun_ra_front.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_ch2.pdf11.79 MBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_ch3.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_ch4.pdf7.28 MBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_ch5.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_ch6.pdf876.71 kBAdobe PDFView/Open
Pimpun_ra_back.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.