Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36145
Title: การพัฒนายุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ : การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางการศึกษา
Other Titles: Development of strategies for the production of bachelor’s degree in social science graduates : an analysis of the rate of return on investment
Authors: อัครนันท์ เตชไกรชนะ
Advisors: สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichan.S@chula.ac.th
bvarapon@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต -- แง่เศรษฐกิจ
บัณฑิต -- แง่เศรษฐกิจ
บัณฑิต -- การจ้างงาน
นักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ -- แง่เศรษฐกิจ
อัตราผลตอบแทน
Bachelor of arts degree -- Economic aspects
College graduates -- Economic aspects
College graduates -- Employment
Social science students -- Economic aspects
Rate of return
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการจ้างงาน และผลตอบแทนของบัณฑิตปริญญาตรีสายสังคม ศาสตร์ วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนทางสังคมและส่วนบุคคลของบัณฑิตปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบัณฑิตปริญญาตรีในแต่ละสาขาของสายสังคมศาสตร์ และพัฒนายุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสายสังคม ศาสตร์ โดยการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บัณฑิตปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาสายสังคมศาสตร์ ได้แก่ 1) สาขารัฐศาสตร์ 2) สาขานิติศาสตร์ 3) สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4) สาขาบริหารธุรกิจ และ 5) สาขาเศรษฐศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งปฏิบัติงานในองค์กรเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 450 คน นายจ้างจากองค์กรเอกชนซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเอกชน จำนวน 9 ท่าน และผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรเอกชน จำนวน 9 ท่านจากองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก จำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านเศรษฐศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน คณบดีจาก 5 สาขาวิชา จำนวน 5 ท่าน และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 ท่าน รวมจำนวนทั้งหมด 12 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบยุทธ์ศาสตร์จำนวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามบัณฑิตปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ แบบสัมภาษณ์ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเอกชน แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสำรวจต้นทุนของสถาบันอุดมศึกษา และแบบประเมินความเหมาะสมของยุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการถดถอย และการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าการผลิตบัณฑิตพบปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างความต้องการของนายจ้างและการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษา ทำให้บัณฑิตล้นตลาดแรงงาน ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของบัณฑิต ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ผลการศึกษา ขนาดขององค์กรเอกชนที่ปฏิบัติงาน ประเภทสถาบันอุดมศึกษา และสาขาวิชา ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางการศึกษาของบัณฑิตปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสูงกว่าสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งในส่วนของอัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลและอัตราผลตอบแทนทางสังคม เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลจากการลงทุนทางการศึกษาระหว่างสาขาวิชาในสายสังคมศาสตร์ พบว่าสาขาวิชาบริหารธุรกิจมีอัตราผลตอบแทนต่อปีร้อยละ 33-43 รองลงมาคือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 33-42 สาขาวิชานิติศาสตร์ร้อยละ 30-33 สาขาวิชารัฐศาสตร์ร้อยละ 25-30 และสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ร้อยละ 26-27 ยุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่สำคัญระดับองค์กร ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสายสังคมศาสตร์โดยอิงกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทางการศึกษา 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการผลิตบัณฑิต 4) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรอื่นๆ นอกจากนี้ยังประกอบด้วย 21 ยุทธศาสตร์ระดับแผนและ 45 โครงการ/กิจกรรม
Other Abstract: This research aims to explore the current conditions, employment problems and returns of social science graduates, to analyze the rate of social and individual returns of social science graduates, to make the comparative analysis of the rate of return on investment of the graduates in each field of study within social science, and to develop the strategies for the production of bachelor’s degree in social science graduates by analyzing the rate of return on investment. The population and sample group for this research are 450 social science graduates in 1) Political Science, 2) Laws, 3) Education, 4) Business Administration and 5) Economics of public and private higher education institutions in Bangkok and vicinity, who work in the companies listed in the Stock Exchange of Thailand (SET) and reside in Bangkok area, 9 top management executive officers of private organizations and 9 managers of human resources departments of large, medium and small organizations, 5 senior experts in economics, 5 deans of 5 faculties and 2 high-ranking executive officers of the Office of the Higher Education Commission (OHEC), The totals are 12 senior experts and 9 senior experts in the examination of strategies. The research instrument include the questionnaire for social science graduates, the interview form for human resource managers, top management executive officers and senior experts, the survey form on the education costs and the evaluation form on the viability of the strategies for the production of bachelor’s degree in social science graduates. Meanwhile, content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, regression analysis and analysis of the rate of return on investment are employed in data analysis. According to the research results, the discrepancy between the employers’ demand and higher education institutes’ production of graduates leads to the oversupply of graduates in labor market. Besides, the age, gender, marital status, academic performance, size of the organization in which they work, type of higher education institutions and field of study are the elements affecting the rate of return of graduates with a statistical significance of 0.01. The public higher education institutions also have a higher rate of social and individual return on investment of social science graduates when compared to the private higher education institutions. Meanwhile, each field of study in social science is compared in light of the individual return on investment. The highest rate of return at 33-43% per year is found in the field of Business Administration, while the rate of return in the field of Economics, Laws, Political Science and Education are 33-42%, 30-33%, 25-30% and 26-27% per year, respectively. The strategies for the production of Bachelor’s degree in social science graduates consist of important organizational strategies: 1) The strategies for social science education management based on the rate of return on education investment, 2) The strategies for the promotion of the quality of graduates to enhance their international competitiveness, 3) The strategies for the development of the efficiency in the administration of higher education institutions, and 4) The strategies for the coordination between higher education institutions and other organizations. Furthermore, there are also 21 planning strategies and 45 projects/activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36145
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1568
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1568
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akkaranun_ta.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.