Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38007
Title: การเกิดความแตกฉานทางปัญญา ภายใต้การตัดสินใจเป็นกลุ่มสี่วิธี
Other Titles: The occurence of synergy under four methods of group decision making
Authors: จุฑารัตน์ สถาปิตานนท์
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการเกิดความแตกฉานทางปัญญาของเอกบุคคลและของกลุ่มที่เกิดขึ้น ภายใต้การตัดสินใจเป็นกลุ่ม 4 วิธี คือ แบบโหวต (V) แบบอภิปราย (D) แบบอภิปรายโหวต (DV) และแบบโหวตอภิปรายโหวต (VDV) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนิติที่กำบังศึกษาระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแยกเป็นเพศชาย 71 คน เพศหญิง 189 คน แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 4 เงื่อนไข 65 คน ในแต่ละเงื่อนไข แบ่งเป็น 13 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ผลการวิจัยพบตามที่ทำนายว่า 1.การตัดสินใจเป็นกลุ่มแบบ V ทำให้เกิดความแตกฉานทางปัญญาของบุคคล (IS) ความแตกฉานทางปัญญาของกลุ่ม (GS) และ ประสิทธิภาพของกลุ่มในการตัดสินใจ (GE) ได้น้อยกว่า แบบ DV และแบบ VDV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) 2.การตัดสินใจเป็นกลุ่มแบบ DV ทำให้เกิดความแตกฉานทางปัญญาของเอกบุคคล (IS) ความแตกฉานทางปัญญาของกลุ่ม (GS) และ ประสิทธิภาพของกลุ่มในการตัดสินใจ (GE) ได้มากกว่า แบบ D อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 3.การตัดสินใจเป็นกลุ่ม แบบ VDV ทำให้เกิดความแตกฉานทางปัญญาของเอกบุคคล (IS) ความแตกฉานทางปัญญาของกลุ่ม (GS) และประสิทธิภาพของกลุ่มในการตัดสินใจ (GE) ไม่แตกต่างจากแบบ DV 4.การตัดสินใจเป็นกลุ่ม ทั้ง 4 วิธี มีผลทำให้เอกบุคคล ที่ตอบได้คะแนนน้อยที่สุดเกิดความแตกฉานทางปัญญา (IS) ได้มากกว่า เอกบุคคลที่ตอบได้คะแนนมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 5.ภายหลังการตัดสินใจเป็นกลุ่มทั้ง 4 วิธี มีผลทำให้ การตัดสินใจของเอกบุคคลที่ตัดสินใจได้ถูกต้อมากที่สุด กับ น้อยที่สุด มีความแตกต่างกัน (Gap) น้อยลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
Other Abstract: The purposes of this research were to study individual synergy and group synergy, and compare them under 4 methods of group decision making, i.e. vote (V), discuss (D), discuss-vote (DV) and vote-discuss-vote (VDV). The participants were 260 Chulalongkorn University undergraduate students, 71 males and 189 females. The experiment was conducted under 4 conditions, each comprising one decision method and with 65 participants. For each condition, the participants were divided into 13 groups of 5 members each. The results of the experiment showed the followings : 1). Individual synergy, group synergy and group effectiveness under the D method were lowest, among the 4 conditions (p < .001). 2). Individual synergy, group synergy and group effectiveness under the D method were lower than the DV method (p < .01). 3). Individual synergy, group synergy and group effectiveness under the DV method did not differ from the DVD method. 4). Individual synergy of the lowest scorer in the group was greater than the highest scorer of the same group (P < .01). 5). The gap between the highest and the lowest scorer in each group was reduced after group decision making (p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38007
ISBN: 2539
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutarat_st_front.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_st_ch1.pdf16.02 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_st_ch2.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_st_ch3.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_st_ch4.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_st_ch5.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_st_back.pdf17.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.