Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41503
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา รัชชุกูล
dc.contributor.authorศิริมา ทองดี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-19T11:16:27Z
dc.date.available2014-03-19T11:16:27Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41503
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการใช้เหตุผลเขิงจริยธรรม และเปรียบเทียบความสามามรในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านหมี่จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน สุ่มอย่างง่ายและจัดเข้ากลุ่มโดยวิธีการจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันที่สุดในด้านหอผู้ป่วยระยะเวลาการปฏิบัติงาน อายุและคะแนนความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นโปรแกรมการฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและแบบบันทึกสถานการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) วัดความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค (Conbrach’s Alpha coefficient0 ได้เท่ากับ 0.59 ค่าดัชนีความยากง่ายเท่ากับ 0.43 และ ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.42 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพภายหลังการได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. ความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi – experimental research with two group pretest – posttest design were to compare the ethical decision making ability of professional nurses between who received of moral reasoning skill training program and those by normal practice. Research sample consisted of 40 professional nurses who working in Banmi Hospital. Forty research subjects were selected by convenient sampling and were 20 subjects each were assigned into the two groups by matched pair technique. The experimental group received moral reasoning skill training program which was developed by researcher. The research instruments were moral reasoning skill training program and Modified Essay Questions 9MEQ) test of the ethical decision making ability of professional nurses. The MEQ was test the reliability by Cronbach's Alpha Coefficient. The scales of reliability were 0.59, index of difficult was 0.43 and discrimination power was 0.42. Research data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. Major findings were as follow;1. The ethical decision making ability of professional nurses in moral reasoning skill training program after experimental was statistically significantly higher than before experimental at the .05 level. 2. The ethical decision making ability of professional nurses in moral reasoning skill training program was statistically significantly higher than the professional nurses in normal practice at the .05 level.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.950-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมต่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.title.alternativeThe effect of moral resoning skill training program on ethical decision making ability of professional nursesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.950-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirima_th_front.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_th_ch1.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_th_ch2.pdf12.92 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_th_ch3.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_th_ch4.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_th_ch5.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_th_back.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.